การศึกษาวิเคราะห์และออกแบบระบบการตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (AN ANALYSIS AND DESIGN OF SCHOOL INTERNAL QUALITY AUDIT SYSTEM FOR THE OFFICES OF EDUCATIONAL SERVICE AREA)

Authors

  • นิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์และออกแบบระบบการตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบนพื้นฐานของหลักการแนวคิด ทฤษฎีการประกันคุณภาพการศึกษาวิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ

                1) การศึกษากรอบแนวคิดในการวิจัย

                2) การศึกษาวิเคราะห์ระบบการตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

                3) การออกแบบระบบการตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

                4) การตรวจสอบระบบการตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

                5) การปรับปรุง การทดลองใช้ การประเมินและการนำเสนอระบบการตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แหล่งข้อมูลที่ศึกษา ได้แก่ เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันคุณภาพการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูจากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษาที่จัดการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสารการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง การหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการวิจัยพบว่าระบบการตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบนพื้นฐานของหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการประกันคุณภาพการศึกษานี้มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลที่ได้รับ โดยด้านปัจจัย ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชนกับสถานศึกษา ค่าน้ำหนักร้อยละ 10 และภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ค่าน้ำหนักร้อยละ 15 ด้านกระบวนการประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่การปฏิบัติงานของครู ค่าน้ำหนักร้อยละ 10 กระบวนการบริหารจัดการการเรียนการสอน ค่าน้ำหนักร้อยละ 10 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ค่าน้ำหนักร้อยละ 10 แหล่งทรัพยากร การบริการและความปลอดภัยค่าน้ำหนักร้อยละ 5 ข้อมูล สารสนเทศค่าน้ำหนักร้อยละ 5 และด้านผลที่ได้รับประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ค่าน้ำหนักร้อยละ 20 และความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ค่าน้ำหนักร้อยละ 15 ซึ่งทุกองค์ประกอบทำงานเป็นกลไกของระบบเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เพื่อการปรับปรุงคุณภาพสถานศึกษาทั้งระบบ นอกจากนั้นระบบการตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานี้ ผ่านการทดลองใช้และประเมินมาตรฐานการประเมินด้านความมีประโยชน์ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้องโดยผู้เกี่ยวข้องและมีมาตรฐานการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

 

ABSTRACT

                The objectives of this research were to analyze 3ฟ design of school internal quality audit system for the Offices of Educational Service Area on the basis of principles, concepts and theories of educational quality assurance. The research procedures consisted of 5 steps as follow:

                1) Study the research conceptual frameworks.

                2) Analyze the current school internal quality audit system.

                3) Design of school internal quality audit system.

                4) Verify- the school internal quality audit system.

                5) Improve, implement and present a new system.

                Sources of data included the current school internal quality audit system of the office of educational service area, administrators and supervisors of the Offices of Educational Service Area, educational quality assurance experts and scholars, school principals and teachers. Data analysis was undertaken by means of document analysis. Item-Objective Congruence Index, and descriptive statistics.

                The major findings were as follows: the school internal quality audit system for the offices of educational service area on the basis of principles, concepts and theory of educational quality assurance consisted of three major components: input, process, and output. The input comprised participation of the community (10%) and leadership (15%). The process comprised teacher's practice (10%). schooling (10%). strategic planning (10%), resource, serv ice, and safety (5%). information (5%). Combination of learning achievement (20%) and satisfaction of stakeholders (15%) were parts of the output. This dynamic system worked relatively in order to improve school’s quality. In addition, this system was tried out and evaluated by the participants and the overall findings showed that it had high levels of standards in terms of the utility, feasibility, propriety, and accuracy.

 

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย