ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา (RELATIONSHIP BETWEEN ORGANIZATIONAL CULTURE AND LEARNING ORGANIZATION OF SCHOOLS UINDER THE OFFICE OF EDUCATIONAL SERVICE AREA IN THE EASTERN REGION)
Keywords:
วัฒนธรรมองค์การ, องค์การแห่งการเรียนรู้, ORGANIZATIONAL CULTURE, LEARNING ORGANIZATIONAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การและองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภาคตะวันออก โดยการศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การและองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดประเภทและลักษณะของสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภาคตะวันออก จำนวน 391 คนโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .95 และ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าที สหสัมพันธ์อย่างง่ายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่าวัฒนธรรมองค์การและองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาโดยรวมจำแนกตามขนาดและลักษณะสถานศึกษาแตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามประเภทสถานศึกษาไม่แตกต่างกันองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาโดยรวม จำแนกตามลักษณะ สถานศึกษาแตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดและประเภทสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน วัฒนธรรมองค์การและองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวก และวัฒนธรรมองค์การในด้านความหลากหลายคุณภาพ ความมีศักดิ์ศรี ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ความมุ่งประสงค์ขององค์การและความเอาใจใส่ดูแลสามารถพยากรณ์องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาได้ โดยมีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 76.30 มีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้
Y = .47 + .25 (X21) + .16 (X6) + .09 (X9) + .13 (X4) + .14 (X2) + .09 (X8)
ABSTRACT
The purposes of this research were to compare and examine relationship between organizational culture and learning organization of schools under the Office of Educational Service Area in the eastern region, as classified by school size, type and characteristic of school. The sample consisted of 391 teachers by using stratified random sampling. The research instruments were five rating scale questionnaire on organization culture and learning organization of schools, which had reliabilities of .95 and .96. Data were analyzed by using mean, standard deviation, One-way ANOVA, t-test, simple correlation, and stepwise multiple regression analysis.
The results of the study revealed that: organizational culture and learning organization of schools as a total and each aspects were rated at a high level. Organizational culture of schools as a total classified by school size and characteristic of school were significant difference, except the type of school was found non significant difference. Learning organization of schools as a total as classified by characteristic of school was significant difference, except the school size and type were non significant difference. There were positive relationship between organizational culture and learning organization of schools. The predictors of learning organization of schools from variables of organizational culture were diversity, quality, integrity, sense of community, school purposes, and caring which accounted for 76.30 percent of the variances as shown in the equation of raw score question as follow:
Y = .47 + .25 (X21) + .16 (X6) + .09 (X9) + .13 (X4) + .14 (X2) + .09 (X8)