กระบวนการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา โดยการบูรณาการแนวคิดการพยาบาลเชิงวัฒนธรรม THE CONSTRUCTION PROCESS OF DESIRABLE CHARACT ERISTICS OF GRADUATE NURSES OF BOROMARAJONANI COLLEGE OF NURSING, YALA BY INTEGRATING CULURALl NURSING CONCEPT

Authors

  • อัจฉรา จั่นเพ็ชร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

คุณลักษณะที่พึงประสงค์, บัณฑิตพยาบาล, การพยาบาลเชิงวัฒนธรรม, Desirable characteristics, Nursing graduates, Cultural nursing concept

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา โดยการบูรณาการแนวคิดการพยาบาลเชิงวัฒนธรรมใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสม (Mixed method designs) ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 43 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงพยาบาล 1 คน หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในจังหวัดยะลา 2 คนสาธารณสุขอำเภอ 1 คน อาจารย์พิเศษ 1 คน ผู้นำชุมชนและผู้รับบริการที่เคยรับบริการพยาบาลกลุ่มละ 4 คน อาจารย์ผู้ทำหน้าที่บริหารวิชาการ 2 คน อาจารย์ผู้ทำหน้าที่สอน 4 คน พยาบาล พี่เลี้ยงในแหล่งฝึกโรงพยาบาลศูนย์ยะลา โรงพยาบาลชุมชน สถานีอนามัย และศิษย์เก่า กลุ่มละ 6 คนการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา ประกอบด้วย 8 ด้าน ดังนี้ ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้ความสามารถทางภาษา ด้านความรู้ความสามารถทางการพยาบาล ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านการเข้าใจความแตกต่าง ด้านการพยาบาล ด้านการใฝ่เรียนรู้ และด้านภาวะผู้นำ กระบวนการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา โดยการบูรณาการแนวคิดการพยาบาลเชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วย 13 กระบวนการ คือการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ การสร้างความตระหนัก การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสร้างความเข้าใจ การสร้างความมั่นใจ การเรียนรู้จากตัวแบบ การสร้างวินัยในตนเอง การกำหนดบทบาทหน้าที่การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม การสร้างสัมพันธภาพ การปลูกฝังค่านิยม และการปลูกฝังจิตสาธารณะ

ABSTRACT

This study aimed to investigate the construction process of desirable characteristicsof graduate nurses of Borommarajonani College of Nursing,Yala by integrating culturalnursing concept. Under the mixed method designs, 43 key informants were recruitedto participate in this study. They informants comprised of : one hospital director, twonursing department directors from hospitals in Yala province, one chief of the district publichealth office, one special instructor, four community leaders and four clients who hadregularly used nursing services, two teachers who worked as academic administrators,four lecturers, 18 nursing facilitators comprising (three groups of six representing Yalahospital, community hospitals, and primary health care units), and six alumni. Data weregathered from individual in-depth interviews, focus groups, and document analyses.Data underwent content analysis, frequencies, percentages, means and standard deviations. The study revealed that the desirable characteristics of graduate nurses ofBoromarajonani College of Nursing, Yala could be coded under eight domains. They are; personality characteristics, language ability, nursing knowledge, moral characteristics,understanding individual differences, commitment to nursing service, self-directedlearning, and leadership characteristics. The cultural integrating processes to achievethe desirable characteristics of the graduate nurses consisted of 13 sub-processes.There are; seeking opportunities for authentic learning, taking part in activities for theoretical and practical learning promotion, developing learning awareness, applyingself-directed learning strategies, developing understanding, building self-confidence,learning from academic models, forming self-discipline, defining responsibility, participatingin social activities, building relationships, and cultivating values and civic responsibility.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย