รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน A MODEL OF DEVELOPING SCHOOL EFFECTIVENESS FOR LARGE-SIZED SECONDARY SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF BASIC EDUCATION COMMISSION

Authors

  • นิตยา มั่นชำนาญ โรงเรียนวังน้ำเย็นวิทยาคม จังหวัดสระแก้ว
  • สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุขุม มูลเมือง -

Keywords:

รูปแบบ, การพัฒนา, ประสิทธิผลโรงเรียน, โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน Model, Development, School effectiveness, Large-sized secondary schools, Office of the Basic Education Commission

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้เทคนิคเดลฟายจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 24 คน 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของข้อมูลเชิงประจักษ์กับรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผล และ 3) เปรียบเทียบความสอดคล้องของข้อมูลเชิงประจักษ์กับรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผล จำแนกตามรูปแบบสมมติฐาน 2 รูปแบบ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 262 โรงเรียน โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ (1) ด้านการปรับตัว ประกอบด้วย ความสามารถในการปรับตัวการใช้นวัตกรรมในการบริหาร ความก้าวหน้าขององค์การ การพัฒนาคุณภาพขององค์การอย่างต่อเนื่อง (2) ด้านการบรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์หรือความสำเร็จ คุณภาพขององค์การ การได้มาซึ่งทรัพยากร ประสิทธิภาพของการทำงานขององค์การ (3) ด้านการบูรณาการ ประกอบด้วย ความพึงพอใจในการทำงาน บรรยากาศองค์การ การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหาความขัดแย้งและ (4) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วย ความจงรักภักดีของบุคลากรต่อองค์การ การกำหนดเป้าหมายในชีวิต การจูงใจในการทำงาน และความเป็นตัวของตัวเองของบุคลากร 2) รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่มีความเหมาะสมและมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่า GFI เท่ากับ .903 ค่า NFI เท่ากับ .961 ค่า CFIเท่ากับ .978 ค่า AGFI เท่ากับ .860 และค่า RMSEA เท่ากับ .07 มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยพิจารณาจากความเที่ยงตรงเชิงลู่เข้าและความเที่ยงตรงเชิงจำแนก ซึ่งพิจารณาจากค่า CR มีค่าระหว่าง .91 ถึง .95 ค่า AVE มีค่าระหว่าง .73 - .84 ค่า λ อยู่ระหว่าง .77 - .97 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 มีค่าสัมประสิทธิอัลฟาของครอนบาค ระหว่าง .91 - .95 แสดงว่ามีความเที่ยงตรงเชิงลู่เข้า นั่นคือตัวแปรทุกตัวสามารถวัดได้ตรงตามโครงสร้างจริง และองค์ประกอบทุกคู่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 แสดงว่าองค์ประกอบมีค่าความเที่ยงตรงเชิงจำแนกนั่นคือ ทุกองค์ประกอบมีความแตกต่างกัน 3) รูปแบบสมมติฐานที่ 2 มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่ารูปแบบที่ 1 นั่นคือ รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลโรงเรียนที่พัฒนาจากทฤษฎีได้รับการยืนยันว่าสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ABSTRACT

The purpose of this research were: 1) to study a model of developing schooleffectiveness for large-sized secondary schools under the Office of Basic EducationCommission by using Delphi technique using 24 specialist participants in educationaladministration, 2) to investigate suitability between observation and developing models, 3) to compare two hypotheses between observation and developing models. The samplesused were 262 schools and the statistical device was Confirmatory Factor Analysis. The results showed that: 1) the model of developing school effectiveness consistedof four factors: (1) Adaptation consisting of adaptability, innovation, growth, and continuingquality improvement, (2) Goal Attainment consisting of achievement, quality, resourceacquisition, and efficiency, (3) Integration consisting of satisfaction, climate, communication,and conflict resolution, (4) Latency consisting of loyalty, setting life goals, motivation, andidentity. 2) the developed model was suitable and fitting by considering that Goodnessof fit measures were GFI = .903, NFI = .961, CFI = .978, AGFI = .860, and RMSEA =.07. The model had constructed validity by considering that convergent validity, convergentand discriminating validities were at 9.1〈CR〈.95, .73〈AVE〈.84, .77〈 λ 〈.97 and at.01 level of statistical significance. Cronbach’s alpha coefficient was .91 - .95. The result indicated that convergent validity was reliable, and every variable was exactly measured.Every couple of factors was significantly at .05 level and it revealed that the reliability offactors had discriminating validity and every factor was different. 3) The second hypothesismodel was more suitable to Goodness of fit than the first one. The model of developingschool effectiveness through theory had been verified to confirm the Goodness of fit.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย