รูปแบบโรงเรียนอิสลามที่เหมาะสมกับสังคมไทย MODEL OF ISLAMIC SCHOOL APPROPRIATIONS FOR THAI SOCIETY

Authors

  • ทิพย์วรรณ วานิชยากร อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 3
  • ธร สุนทรายุทธ ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา

Keywords:

รูปแบบโรงเรียนอิสลาม, สังคมไทย, การวิจัยเชิงอนาคต, การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาแบบกลุ่ม, Model of Islamic school, Thai society, Future Research, Ethnographic Future Research

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบโรงเรียนอิสลามที่เหมาะสมกับสังคมไทยเพื่อเป็นโรงเรียนทางเลือกในการแก้ปัญหาการศึกษาอิสลามในสังคมไทย โดยการใช้การวิจัยเชิงอนาคต(Future Research) มีขั้นตอนการวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาลักษณะเด่นของสภาพสังคมไทยในอนาคตด้วยวิธีวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) (2) ศึกษาลักษณะเด่นของสภาพสังคมชาวไทยมุสลิมในอนาคตด้วยวิธีวิจัยเชิงอนาคตเชิงชาติพันธุ์วรรณาแบบกลุ่ม (Ethnographic GroupFuture Research) ที่ประยุกต์มาจากเทคนิคอีเอฟอาร์ (Ethnographic Future Research) ของโรเบิร์ต เท็กซเตอร์ (Robert Texture) (3) ศึกษาสภาพการศึกษาไทยในอนาคตด้วยวิธีวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) (4) ศึกษารูปแบบโรงเรียนอิสลามที่เหมาะกับสังคมไทยด้วยวิธีวิจัยเชิงอนาคตเชิงชาติพันธุ์วรรณาแบบกลุ่ม และ (5) ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ (Feasibility Study) โดยใช้แบบสอบถามผู้บริหารโรงเรียนอิสลาม 5 โรง ผลการวิจัยได้รูปแบบโรงเรียนอิสลามที่เหมาะสมกับสังคมไทย 5 ด้าน ดังนี้ (1) รูปแบบด้านเป้าหมายหลักของโรงเรียนเพื่อปลูกฝังความศรัทธาในศาสนาอิสลาม (2) รูปแบบด้านโครงสร้างองค์การและกฎระเบียบเพื่อตอบสนองเป้าหมายหลัก(3) รูปแบบด้านการบริหารหลักสูตรเพื่อตอบสนองเป้าหมายหลัก (4) รูปแบบด้านความเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทุกระดับ และ (5) รูปแบบด้านคุณภาพผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

จากผลการวิจัยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ 2 ระดับ คือ ระดับนโยบายและระดับโรงเรียน ในระดับนโยบายมีข้อเสนอแนะ 3 ประการดังนี้ (1) ผลการวิจัยครั้งนี้อาจใช้เป็นโรงเรียนทางเลือกในการจัดตั้งโรงเรียนอิสลามในพื้นที่ที่มีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น โดยเสนอเป็น “โรงเรียนอิสลามวิทยาลัย จังหวัด...” ตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540(2) ด้านแนวคิดในการจัดการศึกษาอิสลามใน 3 จังหวัดภาคใต้ ที่มีประชากรมุสลิมเป็นคนส่วนใหญ่มีรูปแบบการจัดการศึกษาอิสลามที่หลากหลายและสถาปนาอย่างมั่นคงมาหลายร้อยปี (3) การให้อิสระโรงเรียนอิสลามในการติดต่อและรับการสนับสนุนด้านวิชาการและงบประมาณจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม เพราะการมีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนมีความมั่นคงต่อไป ในระดับโรงเรียนผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ (1) ที่ตั้งของโรงเรียนซึ่งต้องคำนึงถึงหลักการวางแผน (School Mapping) (2) ควรมีหลักสูตรการปฐมนิเทศครูบุคลากรทางการศึกษา (3) ควรมีการผลิตสื่อการเรียนรู้วิชาสามัญ(4) ควรมีการผลิตสื่อการเรียนรู้วิชาประวัติความเป็นมาของชาวไทยมุสลิมให้ตรงกับบริบทของโรงเรียนและ (5) การเรียนภาษาไทยเพื่อเกิดความรักความภูมิใจในอัตลักษณ์ความเป็นไทย เป็นต้น

ABSTRACT

This research had as its objectives to improve the model of Islamic School appropriatesfor Thai society in order to be the alternative school for Islamic Education in Thailand problemsolving. The Future Research utilized in this project employed four processes namely (1) study future outstanding conditions of Thai society by Content Analysis (2) study outstandingconditions of Thai Muslim society in the future by using Ethnographic Group FutureResearch [EGFR] which the researcher has applied from Ethnographic Future Researchby Robert Textor (3) study future conditions of Thai education by Content Analysis and(4) study Model of Islamic School Appropriate for Thai Society by EGFR and (5) FeasibilityStudy for questionnaire utilization to 5 School Directors. The research results indicate fiveaspects of Islamic School Model appropriate for Thai society as follows: (1) the Model onschool principle policy to foster faiths in Islamic Religion (2) the Model on organizationstructure and regulations to meet the principle policy (3) the Model on curriculum administrationto meet the principle policy (4) the Model on relations with all levels of suroundingconditions and (5) the Model on quality of students for continuous life -long learning.

From the research results, the researcher proposes recommendations on two levels;the policy level and the school level. For the policy level there are four recommendation pointsnamely : (1) the research results can be used as the example of alternative school to set up Islamic School in the area of Muslim density dwellings by proposing “Islamic School inthe Province of…” as stipulated in the Acts of Islamic Organization Administration B.E.2540(2) the concepts for Islamic Education management in the three southern provinces inwhich Muslims are the majority populations and there are a wide variety of Islamic Educationmanagement established hundreds of years ago. (3) the dependence of school tocontact and receive academic and financial supports from abroad especially from the Islamiccountries because both local and foreign networks would further strengthen school stability. For the school level, there are 5 recommendations; (1) for school site selection the SchoolMapping should be considered (2) teachers as educational personnel (3) instruction media forbasic subjects (4) instructional media for historical background of Thai society subjects whichshould be adjusted to conform with the context of such school and (5) Thai language studyshould be included in the curriculum in order to promote students’ dignity as a Thai people.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย