รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใน การพัฒนางานโรงเรียนอนุบาลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนอนุบาลบ้านต้นกล้า จังหวัดชลบุรี
Keywords:
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การพัฒนางานโรงเรียนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียนอนุบาลบ้านต้นกล้า จังหวัดชลบุรี, Participatory Action Research, Sufficiency Economy in School Administration, Bantonkla Kindergarten School, Chon Buri ProvinceAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนา งานโรงเรียนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนอนุบาลบ้านต้นกล้า จังหวัดชลบุรี โดยใช้แนวคิดของเคมมิสและแม็คแทกการ์ท ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ตัวแทนผู้บริหาร จำนวน 2 คน ตัวแทนครู จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 5 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 9 คน ของโรงเรียนอนุบาลบ้านต้นกล้า จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนางานโรงเรียนตาม หลักเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนอนุบาลบ้านต้นกล้า จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย รูปแบบการพัฒนางานโรงเรียน 4 ด้าน 1) ด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การกำหนด นโยบายของโรงเรียนให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปรับแผนกลยุทธ์ของ โรงเรียนให้สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง และบูรณาการหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนา หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) ด้านการบริหารงานบุคคลตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การทบทวนรายรับ-รายจ่าย ของโรงเรียนให้มีความสมดุล จัดทำ โครงการรณรงค์เพื่อการประหยัดงบประมาณตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อประหยัดงบประมาณตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 3) ด้านการบริหารงานงบประมาณตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และจัดโครงการ รณรงค์เพื่อบุคลากรสามารถปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 4) ด้านการ บริหารงานทั่วไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการเรียนรู้และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งเสริมให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้า มามีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน และร่วมกิจกรรมในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ เผยแพร่การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษา
คำสำคัญ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การพัฒนางานโรงเรียนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียนอนุบาลบ้านต้นกล้า จังหวัดชลบุรี
ABSTRACT
The purpose of this study was to develop participatory action research on model of sufficient economic administration of Bantonkla Kindergarten School, Chon Buri Province. Using participatory action research process as proposed by Kemmis and McTaggart. The key informants of this study consisted of two administrators, seven teachers, five education committee and nine parents who were randomly selected according to purposive sampling from Bantonkla Kindergarten School, Chon Buri Province. Data were collected by document analysis, in-depth interview and participatory observation.
The results of the study were as follows:
Participatory action research on model of sufficient economic administration of Bantonkla Kindergarten School, Chon Buri Province consisted of four main components: (1) Education Management of sufficient economic feature: specify policy of school clearly and match with sufficient economic administration. Adjust strategy of school to match with sufficient economic administration. Integration philosophy of sufficient economic in develop curriculum and activity. (2) Budget management of sufficient economic feature: repeats the expenses of school to balance. Consider project for save budget following sufficient economic. Public relations project for save budget according to sufficient economic concept. (3) Human management of sufficient economic feature: development of knowledge and realization in philosophy sufficient economic for school personnel. Apply philosophy sufficient economic in student develop activity and public relations for sufficient economic. Consider project for change behaviour following sufficient economic progress. (4) General management of sufficient economic feature: Set environment in school following sufficient economic for learning. Supported parents and community to have participation administration and public relations progress.
Effectiveness from participation action research on model of sufficient economic administration of Bantonkla Kindergarten School, Chon Buri Province resulted to changes in school administration. It encouraged participative administration style of administrators, Teacher, parents and community in every step as well as administrator support of sufficient economic brought up to administration in Bantonkla Kindergarten School and appointed team supervision for improving administration concerning sufficient economic.
KEYWORDS : Participatory Action Research, Sufficiency Economy in School Administration, Bantonkla Kindergarten School, Chon Buri Province