รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำผู้บริหารระดับกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • พงกะพรรณ ตะกลมทอง นักศึกษาหลักสูตรปรัญชาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สมคิด สร้อยน้ำ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจำหลักสูตรปรัญชาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • พิชญ์ ฉายายนต์ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจำหลักสูตรปรัญชาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ชาตรี นาคะกุล ดร. ประจำหลักสูตรปรัญชาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Keywords:

รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ, ผู้บริหารระดับกลาง, คณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน, Leadership development model, Middle-level managers, Basic education commission

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำผู้บริหารระดับกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนิน การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบภาวะผู้นำผู้บริหารระดับ กลางเชิงทฤษฎี โดยการศึกษาเอกสาร ตำรา แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่ 2 การประเมินความเหมาะสม และ ยืนยันองค์ประกอบภาวะผู้นำผู้บริหารระดับกลาง โดยใช้เทคนิคเดลฟายกับผู้เชี่ยวชาญ 24 คน ระยะที่ 3 การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำและสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำผู้บริหารระดับกลาง โดย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกับวิธีการ และเทคนิคการพัฒนาภาวะผู้นำที่สังเคราะห์ไว้สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำผู้บริหารระดับกลาง ระยะที่ 4 การตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำผู้บริหาร ระดับกลาง โดยใช้การประชุมผู้เชี่ยวชาญและการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารระดับกลาง สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1. ภาวะผู้นำผู้บริหารระดับกลางประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ดังนี้

1.1 องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 7 องค์ประกอบ คือ 1) ความสามารถในการปรับตัว 2) การมีวิสัยทัศน์ 3) การมีความเชื่อมั่นในตนเอง 4) การให้ความ สำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ 5) การมีความน่าเชื่อถือ 6) การมีมนุษยสัมพันธ์ และ 7) การมีวุฒิภาวะ

1.2 องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ความเป็นผู้นำแบบมุ่งงานและมุ่งคน 2) ความเป็นผู้นำแบบประชาธิปไตย 3) ความเป็นผู้นำ แบบประนีประนอม 4) ความเป็นผู้นำแบบที่ปรึกษา และ 5) ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

1.3 องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงบทบาท ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ คือ 1) บทบาทตามตำแหน่ง 2) บทบาทนักสื่อสาร 3) บทบาทในการติดตามและประสานงาน และ 4) บทบาทนักพัฒนา

2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำผู้บริหารระดับกลาง ประกอบด้วยวิธีการและเทคนิคการพัฒนา ภาวะผู้นำ 17 วิธี คือ 1) บทบาทสมมติ 2) เกมบริหาร 3) กิจกรรมนันทนาการ 4) กิจกรรมพัฒนา จิต 5) กรณีศึกษา 6) การระดมความคิด 7) ศึกษาดูงาน 8) การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ 9) การ เผชิญเหตุการณ์ 10) กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ 11) เกมการศึกษา 12) การฝึกงาน 13) การสนทนา วงกลม 14) การทำแบบฝึกหัด 15) การทำโครงการจริง 16) การฝึกสั่งการ และ 17) การประชุม ทางวิชาการ

คำสำคัญ : รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ, ผู้บริหารระดับกลาง, คณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน

 

ABSTRACT

The purpose of this research was to propose a leadership development model for middle managers under the Office of Basic Education Commission. The study used a mixed methodology consisting of 4 phases; Phase 1: analysis data of middle manager leadership factors from documents, textbooks, management methods and theories as well as structured interviews with 5 experts were undertaken. Phase 2: evaluation and confirmation of the key middle manager leadership components identified in phase 1 by 24 experts based on the Delphi technique. Phase 3: a factor analysis of the leadership components and the creation of a leadership development model for middle managers. The results from the factor analysis were analyzed together with methods and techniques for leadership development to create the leadership development model for middle managers. And Phase 4: an expert focus group meeting was held by middle managers to assess the applicability of the model.

The findings were as the following:

1. The leadership of middle managers under the Office of Basic Education Commission was composed of 3 principal components as follow:

1.1 Component 1 – Middle manager’s leadership traits comprising 7 sub-components; 1) adaptable 2) having vision 3) self confidence 4) focusing on human resources 5) credibility 6) human relationships and 7) maturity

1.2 Component 2 – Middle manager’s leadership behaviors comprising 5 sub components; 1) production and employee centered leadership 2) democratic leadership 3) leadership capable of compromise 4) consultative leadership and 5) transformational leadership.

1.3 Component 3 – Middle manager’s leadership roles comprising 4 sub components; 1) position role 2) communication role 3) monitoring and cooperation role and 4) development role.

2. The Leadership development model for middle managers under the Office of Basic Education Commission comprised 17 techniques and methods: 1) role playing 2) management games 3) recreational activities 4) mind development activities 5) case studies 6) brain storming 7) field studies 8) action learning 9) incident methods 10) group processes 11) educational games 12) job training 13) round table discussions 14) exercises 15) live projects 16) in basket training and 17) conferences

KEYWORDS : Leadership development model, Middle-level managers, Basic education commission

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ