รูปแบบการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในเขตภาคตะวันออก
Keywords:
รูปแบบ, การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา, เขตภาคตะวันออก, Model, Risk behavior for sexual prevention, Vocational education students, Eastern areaAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษา และรูปแบบการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในเขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณเป็นนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกจำนวน 380 คน และครูที่ปรึกษาจำนวน 79 คน การศึกษาเชิงคุณภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าฐานนิยม (Mode) ค่าความแตกต่างระหว่างมัธยฐานและฐานนิยม และค่าพิสัย ระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range)
ผลการวิจัยปรากฏว่า ด้านพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดย การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.59 และ 3.86 ส่วนการเที่ยวสถานเริงรมย์ การแสดงพฤติกรรมทางเพศโดยเสรี อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย3.07 และ 3.41 ด้านพฤติกรรมการกระทำและการแสดงออก โดยรวมอยู่ระดับมาก โดยพฤติกรรม การดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดที่ส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ พฤติกรรมการบริโภคสื่อลามกและสื่อ ยั่วยุทางเพศ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.26 และ 3.39 และรูปแบบการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทาง เพศ ของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ในเขตภาคตะวันออก ควรมีการร่วมมือกันจาก 4 หลักของสังคม ประกอบด้วย 1) การดำเนินการด้านภาครัฐ เป็นส่วนที่กำหนดนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาสังคม 2) การดำเนินการด้านท้องถิ่น นำนโยบายจากภาครัฐมาสู่ขั้นตอนการปฏิบัติ 3) การ ดำเนินด้านสถานศึกษา จัดกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียน ประสาน งานกับชุมชนในการจัดกิจกรรม โดยครูเป็นผู้ให้การดูแล ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำแนะนำเมื่อมีปัญหา ด้วยความรัก ความเข้าใจ 4) การดำเนินการด้านครอบครัว เป็นสถาบันหลักที่ต้องให้การดูแลเลี้ยงดู บุตรด้วยความรัก ความเข้าใจ สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างสม่ำเสมอ
คำสำคัญ : รูปแบบ, การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา, เขตภาคตะวันออก
ABSTRACT
The purpose of this research was to study the risk behavior for sexual problems and patterns prevent risk behaviors for sexual of vocational education students in the eastern area. The sample used for quantitative were 380 vocational students and 79 vocational teachers in eastern area and 19 specialists were participated in qualitative. Quantitative data were collected for statistically analysis using means of percentage, mean and deviation. Qualitative data were collected for statistically analysis using means of median, mode, the difference between the median and mode and interquartile range.
The results indicated that the problems of risk sexual were in the middle level. The high level are having sex premature and having sex without protection, mean 3.59 and 3.86. The medium levels are excursion place of amusement and sexual behavior openly, mean 3.07 and 3.41. Behavior, actions and expression was in the high level. The high level are problems of drinking of drug behavior that effect for having sex and rated - R media, mean 3.26 and 3.39. The model of risk behavior for sexual prevention of vocational education students in eastern area were cooperation from the four main agencies. It can be describe :1) Government responsibilities, this government needs to fix a policy line regarding treatment according to the social problems. 2) Local responsibilities, put the government policies into action and find working. 3) Educational facilities, arrange the activity for teaching so that it agrees with students quality coordinate activities with local area. The teacher should act as the consultant when the students have problems with love and mutual understanding. 4) Family, primary responsibility is to take care of children showing love and understanding. Should provide common activities involving family. Must be able to talk and freely exchange information on a regular basis. Close physical contact and communication is very important to improving family life resulting in reduction of risky sexual behavior.
KEYWORDS : Model, Risk behavior for sexual prevention, Vocational education students, Eastern area