รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด

Authors

  • สมัคร์ รู้รักดี นิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ ที่ปรึกษาหลัก ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เสรี ชัดแช้ม ที่ปรึกษาร่วม คณะวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด, Model of school based management, Small size primary school, Office of trat educational service area

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจรูปแบบการบริหารงาน และเพื่อพัฒนารูปแบบการ บริหารกลุ่มงาน โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาตราด โดยใช้เทคนิคเดลฟายศึกษาความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 27 คน ซึ่งใช้ การสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบปลายเปิด และแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequency) ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Inter Quartile Range)

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารที่เหมาะสม คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ ให้ความเห็นชอบ ประเมินผล ตรวจสอบ ติดตามผลการบริหารกลุ่มงาน ประชาสัมพันธ์ จัดหา สนับสนุน สร้างภาคี เครือข่าย สนับสนุนปัจจัยทางการศึกษา องค์คณะในการบริหารกลุ่มงาน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ สถานศึกษาเป็นประธาน ผู้แทนชุมชน ผู้แทนครู ที่ปรึกษา/ ผู้เชี่ยวชาญ/ นักวิชาการ ผู้แทนองค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนนักเรียน ผู้แทนศิษย์เก่า ผู้แทนผู้ปกครอง แนวทางในการดำเนินงาน กลุ่มงานวิชาการ ประกอบด้วย จัดทำหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ พัฒนาครู แหล่งเรียนรู้ใช้รูปแบบการประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ตามความ เหมาะสมพัฒนาปรับปรุงการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วย การสรร หาบุคลากรตามกรอบอัตรากำลัง ขอการสนับสนุนบุคลากรจากชุมชน ประเมินผลการ ปฏิบัติงาน พิจารณาความดี ความชอบด้วยความยุติธรรม สนับสนุนปัจจัยในการปฏิบัติงาน กลุ่มงาน งบประมาณ ประกอบด้วย จัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ระดมทรัพยากรจากชุมชน ตั้งคณะ กรรมการควบคุมการใช้งบประมาณ รายงานผลการใช้งบประมาณ กลุ่มงานบริหารทั่วไป ประกอบด้วย กำหนดนโยบายตามบริบทของสถานศึกษา จัดทำแผนยุทธศาสตร์ สร้างภาคีเครือข่ายพัฒนาการ ศึกษา จัดจ้างครูธุรการ จัดระบบบริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว

คำสำคัญ : รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด

 

ABSTRACT

This research objectives were to find out the model of school based management for small size primary school under the Office of Trat Educational Service Area. The future research design, Delphi Technique, was used to gather the consensus idea of 27 specialists derived by purposive sampling technique. The research instruments were open ended and five- rating scale questionnaires. The statistical devices were frequency, median and inter-quartile range.

The finding revealed that; The appropriated model of small size primary school administration was “integrated of teaching – learning model”. Power and authorities of basic education institutions committee were presenting idea, suggestion, approving, evaluating, inspection, follow up school work, public relation, supporting, networking, and provide educational facilities. The committee team consisted of school director as the chairman, the representatives from community were teachers, advisors, specialists, educators, delegates from local authorities, students, alumni as well as parents. The work departments were; first, academic affair, consisted of constructing the curriculum and integrated lesson plan, teachers development, learning resources, variety of measurement techniques, setting learning criteria suitable for school, developing continually internal assurance system; second, human resource development consisted of personnel recruitment in the frame of manpower planning, request for community support, evaluation of work performance, fair rewarding and supporting working facilities; third, monetary and budgeting consisted of result based budgeting, gathering resource from community, promoting team for controlling budget allocation, and budget reporting; and fourth administrative affairs consisted of policy setting, strategic planning, education network setting, hiring office personnel, and providing one stop service.

KEYWORDS : Model of school based management, Small size primary school, Office of trat educational service area

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ