รูปแบบการดำเนินการจัดการเรียนร่วมที่มีประสิทธิผลสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดอุบลราชธานี

Authors

  • บุญยิ่ง สายเมฆ นักศึกษาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ธีระ รุญเจริญ ที่ปรึกษาหลัก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมาน อัศวภูมิ ที่ปรึกษาร่วม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Keywords:

รูปแบบการดำเนินการ, การจัดการเรียนร่วม, นักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, An Operational model, Mainstreaming on teaching-learnig, Learner disabilities, Basic Education School

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบการดำเนินการจัดการเรียนร่วมที่มีประสิทธิผลสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการวิจัย4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการปฏิบัติ ปัญหา และความต้องการโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 160 คน ระยะที่ 2 ร่างรูปแบบขั้นต้น โดยประมวลหลักการแนวคิดทฤษฎี เกี่ยวกับรูปแบบ กำหนดหลักการแนวคิด และโครงสร้างรูปแบบ กำหนดรายละเอียดในการร่างรูปแบบ ดำเนินการร่างรูปแบบขั้นต้น ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ ของรูปแบบขั้นต้น โดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 นำรูปแบบไปทดลองใช้ ที่โรงเรียนนาคสมุทรสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ครอบคลุม 4 ด้าน คือ ด้านการเรียนการสอน ด้านสนับสนุนและการบริการจัดการเรียนร่วม ด้านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ และด้านการจัดสภาพแวดล้อมประเมิน ผลการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบ ดำเนินการโดยจัดประชุมกลุ่มสนทนา (Focus Group) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 คน ประเมิน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ ทั้งที่เป็น ลายลักษณ์อักษรและอภิปรายเชิงประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปหลอมรวมประเด็นผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการปฏิบัติ ด้านการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนและบริการจัดการเรียนร่วมการจดั กิจกรรมเสริมประสบการณ ์ และการจัดสภาพแวดล้อม อยใู่ นระดบั มาก สว่ นปญั หา อยใู่ นระดบัน้อย ด้านความต้องการให้มีการพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนให้นักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ได้พัฒนาตามศักยภาพ และ การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลตามสภาพจริง อยู่ในระดับมาก

2. รูปแบบมีความสอดคล้องกับประสิทธิผลการดำเนินการจัดการเรียนร่วมสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ โดยรวม อยู่ในระดับมากโดย สอดคล้องมากที่สุด 2 ด้าน คือ จุดมุ่งหมายและการประเมินผล ส่วนหลักการดำเนินการ กลไกดำเนินการ วิธีดำเนินการ เงื่อนไขความสำเร็จ สอดคล้องอยู่ในระดับมาก

3. รูปแบบมีความเหมาะสม และ ประโยชน์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้านคือ ด้านจุดมุ่งหมายและด้านเงื่อนไขความสำเร็จ ส่วนด้านหลักการด้านกลไกการดำเนินการ ด้านวิธีการดำเนินการ และด้านประเมินผล มีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

4. การนำรูปแบบไปทดลองใช้ ปรากฏว่า นักเรียนมีคะแนนหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยและ ชุดสอนซ่อมเสริมสูงกว่า ก่อนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย และชุดสอนซ่อมเสริมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 นักเรียน ครู ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก

5. รูปแบบการดำเนินการจัดการเรียนร่วมที่มีประสิทธิผลสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) หลักการพัฒนานักเรียนตามศักยภาพ หลักพัฒนาครูด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ อย่างต่อเนื่อง หลักความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย หลักให้บริการและอำนวยความสะดวก หลักความสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันและชุมชน และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) จุดมุ่งหมายเพื่อให้พัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพประกอบด้วย ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ทักษะการอยู่ในสังคม ทักษะการงานอาชีพ 3) กลไกในการดำเนินการโดยการจัดตั้งคณะทำงาน จัดระบบสนับสนุนการดำเนินการประกอบด้วยงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ และจัดระบบการพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ 4) ดำเนินการโดยจัดเตรียมนักเรียน ครู ผู้ปกครอง แต่งตั้งคณะทำงานและดำเนินการให้ ครอบคลุม 4 ด้าน 5) ประเมินผลโดยยึดจุดประสงค์เป็นหลัก 6)เงื่อนไขความสำเร็จขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงเรียนให้การสนับสนุนและยกย่องชมเชยบุคลากรมีจิตสำนึกในการพัฒนานักเรียนและให้มีการนิเทศ กำกับติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ : รูปแบบการดำเนินการ, การจัดการเรียนร่วม,  นักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

ABSTRACT

The objective of this research was to present a model of an effective main streaming management for students with learning disabilities in basic education schools under the jurisdiction of Educational Service Area Offices in Ubon Rathchathani Province. The research was divided into 4 stages. Stage One was an investigation of the performance, problems and needs by using the questionnaire that had been approved for the quality with 160 samples. Stage two was the drafting of the initial model by gathering the principles, concepts and theories about the model, determining the principles, concepts and the structure of the model, determining the details in drafting the model, drafting the initial model, checking for the content validity by investigating for the IOC, and evaluating the initial model for the suitability, the feasibility, and the utility by the specialists. Stage three was the implementation of the model at Naksamootsongkro School, Ubon Rathchathani Educational Service Area Office 5 covering the four areas: instructional management, mainstreaming management support and service, extra- experience activity management, and environmental management. A pre-test, a post-test as well as an evaluation for the satisfaction of the students, the teachers and the parents were conducted. Stage four was the evaluation of the model by conducting a focus group participated by 15 experts. The model was evaluated for the suitability, the feasibility, and the utility in both writing and discussing. The statistics used in data analysis included arithmetic mean, standard deviation, and content analysis.

The findings were as the following:

1. The schools performed instructional management, mainstreaming management, support and service, extra-experience activity management, environmental management at the high level, encountered the problems at the low level, the needs concerning the staff development, the encouragement of the students with learning disabilities to be developed in accordance with potentialities, and the supervision, follow-up and authentic assessment at the high level.

2. The model was consistent with the effectiveness of the mainstreaming management for the students with learning disabilities, as a whole, at the high level. Two areas, the objective evaluation were consistent with the effectiveness at the highest level and the others; the principle of procedure, mechanism of procedure, method of procedure and condition of accomplishment were congruent to at the high level.

3. The model had the suitability and utility, as a whole, at the highest level, and the feasibility at the highest level in two areas, the objective and condition of accomplishment, while the others; the principle of procedure, mechanism of procedure, method of procedure and evaluation had the feasibility at the high level.

4. When the model was tried out, it was found that the students’ score after the implementation of a workbook for increasing the skill in reading Thai and a remedial teaching package was higher than that before the implementation of a workbook with the statistical significance at .05. The satisfaction of the students, teachers, and the parents was at the high level in all areas.

5. The model of an effective mainstreaming management for students with learning disabilities in basic education schools included 1) principles of developing the students in accordance with their potentialities, principles of developing the teachers continuously concerning knowledge, understanding, and attitude, principles of co-operation of all people concerned, principles of providing services and facilitations, principles of the consistence with everyday life and the community, and principles of individual differences; 2) the objectives for students’ self-development in accordance with their potentialities including self- skill, social skill, and vocational skill; 3) the mechanism of procedure by setting up working groups, organizing supportive system of the procedure including budget, instructional materials as well as setting up the system to develop the students with disabilities; 4) proceeding by preparing the students, teachers and parents, setting up working groups and proceeding in all 4 areas of activities; 5) evaluating based on objective, and 6) the condition of achievement based on the support and the admiration from the school administrators, the staff with full intention on developing the students, the continuity of supervisory, and follow–up activities.

KEYWORDS : An Operational model, Mainstreaming on teaching-learnig, Learner disabilities, Basic Education School

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ