โมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords:
โมเดลเชิงสาเหตุ, การออกกลางคันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, A Causal model, Students’ dropout of secondary school, Office of BasicEducational CommissionAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกรอบแนวคิดที่บูรณาการจากแนวคิดของ ทินโต (Tinto, 1975, p. 91) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของ มุนโร (Munro,1981, p. 133) แอสติน (Astin, 1984, p. 300) และเคอร์รี่ (Curry, 2001, p. 3) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่ออกกลางคัน ในปี 2007-2008 จำนวน 200 คน จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เชียงใหม่ อุดรธานี กำแพงเพชร และสตูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างจาก ตัวแปรในการวิจัย ประกอบด้วยสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความคาดหวังของผู้ปกครองการบูรณาการทางวิชาการ การบูรณาการทางสังคม ความผูกพันกับเป้าประสงค์ และความผูกพันกับสถาบัน มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยปรากฏว่าโมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า ไค-สแควร์ เท่ากับ 6.81 ที่องศาอิสระเท่ากับ 12 มีค่าความน่าจะเป็น เท่ากับ .87 ดัชนี GFI เท่ากับ .99 ค่าดัชนี AGFI เท่ากับ .96 ค่าดัชนี CFI เท่ากับ 1.00 ค่า SRMR= .02 และค่า RMSEA = .01 ตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของการออกกลางคันได้ร้อยละ 40.50 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการออกกลางคันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ความคาดหวังของผู้ปกครอง ความผูกพันกับสถาบัน การบูรณาการทางสังคม และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
คำสำคัญ : โมเดลเชิงสาเหตุ, การออกกลางคันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ABSTRACT
The purposes of this research were to develop and to validate a causal model ofsecondary school students’ dropout under the jurisdiction of the Office of Basic EducationalCommission. The conceptual framework was integrated from the conceptual model of Tinto(1975, p. 91) and related researches comprised Munro (1981, p. 133), Astin (1984,p. 300) and Curry (2001, p. 3). The samples were 200 dropout students in secondaryschools in five Educational Service Areas in Phetchaburi, Chiang Mai, Udon Thani,Kamphaeng Phet, and Satun. Questionnaires were created from variables of this researchwere socio-economic status, parents’ aspiration, academic integration, social integration,goal commitment, and institutional commitment. The data collected by three informantsfrom teachers, parents, and dropout students. The data was analyzed by SPSS Program,and LISREL for analyzing of the causal model.
The model was found to be consistent with empirical data at a good level. Goodnessof fit indicators included a Chi-square value of 6.81 with 12 degrees of freedom, p-value= .87; GFI = .99; AGFI = .96; CFI = 1.00; SRMR = .02, and RMSEA = .01. The causalvariables were found of having the accountability by 40.50 percent of the variance ofdropout behavior. The variables influencing students dropout were found statisticalsignificant; they were parents’ aspiration, institutional commitment, social integration, andsocio-economic status.
KEYWORDS : A Causal model, Students’ dropout of secondary school, Office of BasicEducational Commission