การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสุมานัน จังหวัดสมุทรปราการ
Keywords:
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้, โรงเรียน สุมานัน จังหวัดสมุทรปราการ, Participatory Action Research, PAR, Learning Organization Model Development, Sumanan School, Samutprakan ProvinceAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสุมานัน จังหวัดสมุทรปราการ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้แนวคิดของ เคมมิสและแม็คแท็กการ์ด (Kemmis & McTaggart, 1988) ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ครู จำนวน 17 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร การใช้แบบสำรวจสภาพองค์การแห่งการเรียนรู้ การสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยา ผล การวิจัยปรากฏว่า รูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสุมานัน ประกอบด้วยระบบย่อย 5 ด้าน คือ 1) ด้านการเรียนรู้ ประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารและครู การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และบทบาทในการเรียนรู้ 2) ด้านองค์การ ประกอบด้วย การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ การปรับปรุงวิสัยทัศน์เพื่อการเรียนรู้ และวัฒนธรรมการเรียนรู้ 3) ด้านบุคคล ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง 4) ด้านความรู้ ประกอบด้วย การสร้าง/ แสวงหาความรู้ การจัดเก็บความ รู้ และการแบ่งปัน/ ถ่ายโอนความรู้ 5) ด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วย การใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติ งานและการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มพูนความรู้ สำหรับประสิทธิผลของรูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสุมานันนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงการบริหารคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมระหว่าง ผู้บริหารและครู ผู้บริหารสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน ครูใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและเพิ่มพูนความรู้ รวมทั้งครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านการผลิตสื่อการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
คำสำคัญ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้, โรงเรียน สุมานัน จังหวัดสมุทรปราการ
ABSTRACT
The purpose of this study was to develop a learning organization model of Sumanan School, Samutprakan province using participatory action research process as proposed by Kemmis & McTaggart. The major informants of this study consisted of seventeen teachers from Sumanan School. Data were collected by document analysis, questionnaire of learning organization profile, in-depth interview and participatory observation. The phenomenological analysis was used to analyze the collected data. The study revealed that the learning organization model of Sumanan School was composed of five subsystems; (1) Learning subsystem involved sharing and learning of administrators and teachers, learning skills development, and roles of learning; (2) Organization subsystem involved emphasis on learning, vision improving for learning and learning culture; (3) People subsystem involved administrator, teachers, students and parents (4) Knowledge subsystem involved knowledge creation/acquisition, knowledge storage and knowledge sharing/transferring; and (5) Technology subsystem involved using technology for working and using technology for enhancing knowledge. The implementation of learning organization model resulted in changes in school administration. Specially, it encouraged a participative administration style between administrator and teachers as well as administrator support of using technology for working and knowledge sharing. Teachers used technology for working and enhancing knowledge. Teachers, parents and students were together learning through produced educational media and school activities.
KEYWORDS : Participatory Action Research: PAR, Learning Organization Model Development, Sumanan School, Samutprakan Province