การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะในการดำเนินชีวิตของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • สุกิจ โพธิ์ศิริกุล นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม ที่ปรึกษาหลัก ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • คุณวุฒิ คนฉลาด ที่ปรึกษาร่วม ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

การพัฒนาตัวบ่งชี้, การพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา, Development indicators, Development of lifestyle skills in secondary school students

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา และเพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างตัวบ่งชี้ การพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัยประกอบด้วยครูแนะแนวและครูที่ปรึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2552 จำนวน 300 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ค่าสถิติ พื้นฐาน โดยโปรแกรม SPSS และใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดล โครงสร้างตัว บ่งชี้การพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตของนักเรียนโรงเรียนศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์

ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบหลักที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ และการสื่อสาร องค์ประกอบทักษะด้านการตัดสินใจ และองค์ประกอบทักษะด้านการเลือกดำเนิน ชีวิต ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบหลักได้รับการพัฒนาผ่านตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบย่อยทั้งหมด 6 องค์ ประกอบและตัวบ่งชี้การมีพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิต 21 ตัวบ่งชี้ เหลือ 3 องค์ประกอบหลัก 17 ตัวบ่งชี้ ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการพัฒนาตัวบ่งชี้การพัฒนาทักษะใน การดำเนินชีวิตของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้ค่าไค – แสควร์ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน และค่าดัชนีวัดระดับความ กลมกลืนที่ปรับแก้แล้วทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการทดสอบพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์

คำสำคัญ : การพัฒนาตัวบ่งชี้, การพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to develop indicators of lifestyle skills of the students of secondary school and to investigate the correspondent indicator model of lifestyle skills of the secondary school students with the empirical data. The samples of this study were 300 guidance teachers and advisory teachers in secondary schools under the Office of Basic Education Commission of the education year 2009 by using a multi – stage random sampling technique and were administraed a questionnaire.

The data were analyzed by descriptive statistics through SPSS and Confirmatory Factory Analysis was analyzed through LISREL. The findings of the study were as follows: The factors which influenced the development of indicators of lifestyle skills of the students of secondary school consisted of 3 factors; interpersonal relationship and communication skills, decision making skills and health lifestyle skills. The three factors were developed through six sub-variables and 21 life-style skill indicators. The remainings were found 17 composite indicators. The composite indicators of the development of indicators of lifestyle skills of the students of secondary school of three major factors were in the order of weight as follows: interpersonal relationship and communication skills, health lifestyle skills, and decision skills The results of the structural validity test of the model of the development of indicators of lifestyle skills of the students of secondary school under the Office of Basic Education Commission using Chi – square, Goodness of Fit Index, and the Adjusted Goodness of Fit Index revealed that the model significantly corresponded with empirical data.

KEYWORDS : Development indicators, Development of lifestyle skills in secondary school students

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ