การปรับตัวของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกสู่คุณภาพการบริหารสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

Authors

  • วันวิภา เทียนขาว นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สมโภชน์ อเนกสุข อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

การปรับตัวของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา, องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น, ภาคตะวันออก, คุณภาพการบริหารสถานศึกษา, การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ, The adaptation of primary schools, Local administrative bureau, Eastern region, Quality of school administration, English language in teaching and learning

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด วิธีการและกลไก และ ผลการปรับตัวของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก สู่คุณภาพของการบริหารสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดปัจจัยพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงองค์การประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ งานพันธกิจ (Task) โครงสร้างองค์การ (Structure) บุคลากร (People/ Human) และเทคโนโลยี (Technology) เป็นกรอบการวิจัยเบื้องต้นแบบทฤษฎีก่อนการวิจัย ศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 39 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 4 คน ครูไทย 3 คน ครูต่างชาติ 4 คน นักเรียน 15 คน ผู้ปกครอง 6 คน กรรมการสถานศึกษา 3 คน และผู้เชี่ยวชาญ 4 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การวิจัย ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย ได้แก่ วิธีการศึกษาเอกสารร่องรอยที่เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การออกแบบสอบถามและการบันทึกภาคสนาม ทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ ผลการวิจัยพบว่า 1) การปรับตัวของ สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษประกอบด้วย 5 แนวคิดสำคัญ ได้แก่ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การบริหารที่ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติด้านการศึกษา การเตรียมความพร้อมสู่อนาคต และการพัฒนาสถานศึกษาแบบองค์รวมและระยะยาว 2) สถานศึกษามีวิธีการและกลไกในการปรับตัวในการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษคือ ครูใช้ปรัชญา การศึกษาเป็นตัวนำการเลือกกลยุทธ์ กิจกรรม และกระบวนการการจัดการเรียนการสอน นักเรียน มีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนเป็นภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการเรียนรู้ผ่านเกม สภาพครอบครัวช่วยเพิ่ม ความพร้อมและโอกาสการเรียนรู้ของนักเรียน และ 3) ด้านผลการปรับตัวของสถานศึกษา พบว่า มี การเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติของครูและนักเรียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการ สอนของครู ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ควบคู่กับผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เชื่อมโยงกับ สภาพชีวิตจริงได้ สภาพปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขมี 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านครูต่างชาติ ที่มีสำเนียงการ พูดไม่เป็นสากลส่งผลกระทบต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน มิติด้านงบประมาณ ที่ขาดความ สม่ำเสมอในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอน มิติด้านกิจกรรมพิเศษ ที่ต้องการให้มีการจัดให้ มากขึ้นและสม่ำเสมอ และมิติด้านสภาพแวดล้อม ที่ครูและผู้ปกครองควรสร้างให้เอื้อต่อการสื่อสาร ภาษาอังกฤษทั้งที่สถานศึกษาและที่บ้าน

คำสำคัญ : การปรับตัวของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา, องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น, ภาคตะวันออก, คุณภาพการบริหารสถานศึกษา, การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

 

ABSTRACT

The purposes of this study were to uncover the concepts, the methods, and the results of the adaptation of primary schools using English Language In Teaching and Learning (ELITAL) activities to quality administration under the Local Administrative Bureau in the Eastern region. This research was conducted by means of qualitative methodology, phenomenogical study using the conceptual framework of the research of four fundamental factors of organizational change: task, structure, people/ human and technology as theorybefore research. The total of 39 key informants: four school administrators, three Thai teachers, four foreign teachers, 15 students, six parents, three school committees, and four experts, were selected by a purposive sampling. Various methods of data collection used in this research were document analysis, in-depth interview, focus group discussion, participant and non-participant observation, questionnaire, and field note taking.

The research uncovered that 1) there were five main concepts of the adaptation of the primary schools using ELITAL activities: school-based management, science and art of administration, attitude changes, preparation of the future education, and holistic and long-term development. In addition, 2) the methods of the adaptation of the schools involved philosophy of education that teachers used to select proper strategies and activities of using ELITAL. The students developed positive attitude toward the ELITAL activities with the preference of learning through games. Furthermore, family played a critical role in promoting students’ learning. 3) The results of the adaptation of the school using ELITAL revealed attitude changes of teachers and students, thus changing teaching and learning behaviors. Parents emphasized the importance of evaluation on both students’ learning achievement grades and practical learnings. Parents also made suggestions on four critical issues of the ELITAL improvement which were foreign teachers, budget management, additional learning activities, and favorable environment for English practice. The foreign teachers with the local English accent negatively influenced the students’speaking and listening skills. Additionally, the budget should be increased or at least be maintained to provide enough support to the ELITAL. The school should also regularly provide more extra learning activities. Finally, both teachers and parents should create suitable environment stimulating students to practice speaking English at school and at home.

KEYWORDS : The adaptation of primary schools, Local administrative bureau, Eastern region, Quality of school administration, English language in teaching and learning

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ