TY - JOUR AU - ทองย้อย, นพวรรณ AU - งามประโคน, สิน AU - ชำนิศาสตร์, บุญเชิด PY - 2019/05/06 Y2 - 2024/03/29 TI - A MODEL OF PARTICIPATION IN THE FIVE PRECEPTS OBSERVATION PROMOTION FOR PRIMARY SCHOOLS JF - Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU JA - Education MCU VL - 6 IS - 1 SE - Research Article DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/184288 SP - 208-217 AB - <p>การศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ประเทศใดสามารถจัดระบบการศึกษาให้ประชาชนได้อย่างทั่วถึงและถูกต้อง ประเทศนั้นย่อมประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ&nbsp; ด้านการเมือง หรือด้านสังคมวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะการพัฒนาประเทศจะต้องอาศัยกำลังคนเป็นสำคัญ ซึ่งกระบวนการที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคนก็คือ การจัดการศึกษา ดังนั้น ทุกประเทศจึงพยายามจัดการศึกษาในประเทศของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการจัดการการศึกษานอกจากจะมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้แล้วจะต้องมุ่งปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียนเพื่อให้เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีอีกด้วย ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ตรัสไว้ว่า นอกจากการศึกษาจะสอนให้คนเก่งแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะอบรมให้ดีพร้อมกันไปด้วย ประเทศเราจึงจะได้คนที่มีคุณภาพ คือ ทั้งเก่งทั้งดีมาเป็นกำลังของบ้านเมือง&nbsp; ให้ความเก่งเป็นปัจจัยและพลังสำหรับการสร้างสรรค์ และให้ความดีเป็นปัจจัยเพื่อประคับประคองนำความเก่งให้เป็นไปในทางที่ถูก ที่อำนวยผลประโยชน์อันพึงประสงค์ ซึ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในปัจจุบันต่างพยายามที่จะฝึกฝนอบรมจิตใจของเยาวชนให้รู้ผิดชอบชั่วดีมากขึ้น โดยหลายฝ่ายหวังว่าการอบรมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนจะเป็นเสมือนสายป่านที่คอยเหนี่ยวรั้งและฉุดดึงให้เด็กได้มีสภาพจิตใจที่เข้าถึงคุณงามความดีของชีวิต โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงระดับการศึกษาที่ครอบคลุมไปทั้งประเทศ มีการจัดการศึกษาในทุกท้องที่&nbsp; และเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลจะต้องดำเนินการให้กับประชาชนทุกคนก็คือ การศึกษาระดับประถมศึกษา ฉะนั้นจึงถือได้ว่าการศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง&nbsp; และเมื่อพิจารณาคุณลักษณะของผู้เข้ารับการศึกษาในแต่ละระดับแล้วจะเห็นว่า นักเรียนประถมศึกษาเป็นผู้มีสภาพเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านคุณธรรมจริยธรรม</p><p>วัดเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา “บ้าน” หรือชุมชนไทย เมื่อครั้งในอดีตมี “วัด” เป็น&nbsp;&nbsp;&nbsp; ศูนย์รวมจิตใจในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาการศึกษา หรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ แก่ชุมชน “บ้าน” หรือชุมชนจะร่วมกับ “วัด” โดยการสนับสนุนที่สำคัญจาก “โรงเรียน หรือราชการ” ร่วมกันดำเนินการในลักษณะ ๓ ประสาน “บ้าน วัด โรงเรียน” หรือ เรียกโดยย่อว่า “บวร”</p> ER -