วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ <p><strong>EDKKUJ</strong> เป็นวารสารวิชาการหลักอย่างเป็นทางการที่จัดทำในนามคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วารสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้สำหรับนักการศึกษา นักวิจัย นักพัฒนา และนักปฏิบัติ ทางด้านการวิจัยและพัฒนาทางด้านศึกษาและสหวิทยาการที่เกี่ยวข้อง โดยวารสารดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการทางด้านการศึกษาและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับและพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาผ่านกระบวนการพิจารณาคัดเลือกและประเมินคุณภาพตามมาตรฐานสากลของวารสารวิชาการ</p> <p>ISSN: 0857-1511, E-ISSN: 2673-0847</p> th-TH edkkuj@gmail.com (Assist.prof. Dr. Parama Kwangmuang, Ph.D.) edkkuj@gmail.com (Mathu-rose Muangsuk) Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC ร่วมกับแอปพลิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277178 <p>บทความวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ร่วมกับแอปพลิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ร่วมกับแอปพลิเคชัน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ร่วมกับแอปพลิเคชัน &nbsp;&nbsp;กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 16 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค CIRC ร่วมกับแอปพลิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เรื่อง 2) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC ร่วมกับแอปพลิเคชัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">คะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้เทคนิค CIRC ร่วมกับแอปพลิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน</li> <li class="show">ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC ร่วมกับแอปพลิเคชันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.54</li> </ol> วรางคณา ภู่ศิริภิญโญ, ชุติมา แออัด Copyright (c) 2025 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277178 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาสภาพและแนวทางการเสริมพลังอำนาจครู กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277331 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ดังนี้ 1) &nbsp;เพื่อศึกษาสภาพการเสริมพลังอำนาจครู กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมพลังอำนาจครู กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 310 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า1) สภาพการเสริมพลังอำนาจครู กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางการสภาพการเสริมพลังอำนาจครู กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ควรมีการสร้างข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน สื่อสารแบบตรงไปตรงมา เปิดเผย โปร่งใส เข้าถึงง่าย มีความเป็นเอกภาพ มีเป้าหมายเดียวกัน โดยมีการสนับสนุนที่เหมาะสม เคารพเวลาส่วนตัว หลีกเลี่ยงการติดต่องานนอกเวลาราชการ ส่งเสริมบรรยากาศการทำงานที่เป็นกัลยาณมิตร</p> เบญจามินญ์ จินตรารักษ์, ธิดาวัลย์ อุ่นกอง Copyright (c) 2025 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277331 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการสอนฟิสิกส์ร่วมกับแนวคิดการสอนแบบโพลยา เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277720 <p>วัตุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนารูปแบบการสอนฯ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบฯ 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนฯ และ 4) ประเมินและรับรองรูปแบบการสอนฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม จำนวน 41 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและผลสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และระดับมากที่สุด 2) รูปแบบการสอนฯ มี 5 องค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการ &nbsp;2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 7 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ตรวจสอบความรู้เดิม (Elicitation Phase) ขั้นที่ 2 เผชิญสถานการณ์ปัญหา (Facing Problem situations) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ และแสวงหาข้อมูล (Analyzing and seeking information) &nbsp;ขั้นที่ 4 วางแผน (Planning Stage) ขั้นที่ 5 ลงมือปฏิบัติ (Action Step) ขั้นที่ 6 สร้างข้อสรุป (Creating Conclusions) ขั้นที่ 7 ประเมินผล (Evaluation Stage) 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ผลป้อนกลับ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนฯ พบว่า ประสิทธิภาพกระบวนการและประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E<sub>1</sub>/ E<sub>2</sub>) มีค่าเท่ากับ 82.01/81.08 ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7135 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมถึงจิตวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบกการสอนมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด</p> จักริน งานไว Copyright (c) 2025 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277720 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ IMPAIN Model ที่บูรณาการทักษะปฏิบัติร่วมกับจินตภาพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเล่นกีฬาเปตองสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277802 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนารูปแบบฯ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบฯ 3) ทดลองใช้รูปแบบฯ 4) ประเมินและรับรองรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 17 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบ 4) แบบวัดความสามารถในการเล่นเปตอง 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัย 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการสร้างรูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 6 ขั้น ดั้งนี้ (1) ขั้นการคัดลอกเลียนแบบการกระทำ (Imitation Copy Action) (2) ขั้นการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง (Manipulation) (3) ขั้นการปฏิบัติให้ถูกต้องหรืออิสระ (Precision) (4) ขั้นการฝึกปฏิบัติด้วยความมั่นใจ (Articulation) (5) ขั้นการใช้จินตภาพสำหรับกีฬา (Imagery) (6) ขั้นปฏิบัติได้อย่างเป็นธรรมชาติโดยอัตโนมัติ (Naturalization) การวัดและประเมินผล และผลป้อนกลับ ซึ่งได้ IMPAIN Model 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า ประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.94/81.19 ค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7316 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการเล่นเปตองของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบฯ พบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> เกตุวดี บุญเทพ Copyright (c) 2025 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277802 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาคู่มือการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงออกแบบด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277654 <p>การวิจัยนี้มุ่งพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยการนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมมีข้อจำกัดในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการนิเทศ พัฒนาและหาประสิทธิภาพของคู่มือการนิเทศแบบมีส่วนร่วม ศึกษาผลการใช้คู่มือที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงออกแบบด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อคู่มือการนิเทศแบบมีส่วนร่วม การวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&amp;D) โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 84 คน จาก 42 โรงเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความสามารถในการคิดเชิงออกแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความต้องการพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงออกแบบด้านการจัดการเรียนรู้ในระดับมาก คู่มือการนิเทศที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หลังใช้คู่มือครูมีความสามารถในการคิดเชิงออกแบบด้านการจัดการเรียนรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 ผลการวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนหลังการทดลองใช้คู่มือการนิเทศแบบมีส่วนร่วมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ พบว่าครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมอยู่ในระดับมาก ครูมีความพึงพอใจต่อคู่มือในระดับมากที่สุด ข้อค้นพบสำคัญคือการบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบกับการนิเทศแบบมีส่วนร่วมช่วยพัฒนาความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นการมีส่วนร่วมและการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้</p> รำเพย ทินกระโทก Copyright (c) 2025 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277654 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277727 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) สร้างและพัฒนารูปแบบฯ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ และ 4) ประเมินและรับรองรูปแบบฯ โดยใช้รูปแบบวิจัยและพัฒนา (Research &amp; Development) 4 ระยะ 1) การวิจัย (Research: R<sub>1</sub>) 2) การพัฒนา (Development: D<sub>1</sub>) 3) การวิจัย (Research: R<sub>2</sub>) 4) ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D<sub>2</sub>) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับน้อย สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า PIVARF Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน การประเมินผล และผลป้อนกลับ โดยมีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น ได้แก่ เตรียมความพร้อมผู้เรียน (Prepare: P) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม (Involve students Learning Activities: I) ตรวจสอบความเข้าใจ (Verify Students’ Understanding: V) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนปฏิบัติโดยตรง (Action: A) สะท้อนความคิดเกี่ยวกับการเรียน (Reflect: R) และให้ฝึกโดยอิสระ (Free Practice: F) 3) ผลการใช้รูปแบบพบว่า มีประสิทธิภาพ 81.24/82.47 มีดัชนีประสิทธิผล 0.7043 ผลสัมฤทธิ์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 4) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบฯ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด</p> วาริศดา ภูผาพลอย Copyright (c) 2025 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277727 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ICFS Model) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277676 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) สร้างและพัฒนา 3) ทดลองใช้ และ 4) ประเมินรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ๑ (เหมืองแบ่งวิทยาคม) จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนสภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษฯ มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการ ขั้นที่ 1 นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Introducing New Content) ขั้นที่ 2 ขั้นฝึกปฏิบัติ (Controlled practice) ขั้นที่ 3 ขั้นนำเสนอผลงาน (Free Practice) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุป (Summary) และ 4) การวัดและประเมินผล ซึ่งเมื่อพัฒนาเป็นรูปแบบฯ จะมีชื่อเรียกว่า ICFS Model 3. ผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบ เท่ากับ 80.94/81.19 3.2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบ เท่ากับ 0.7034 &nbsp;3.3 ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนจากการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ พบว่า นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด 4. การประเมินและรูปแบบฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ศิรินารถ ผาจิรวัฒนชาติ Copyright (c) 2025 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/277676 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700