วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ <p><strong>EDKKUJ</strong> เป็นวารสารวิชาการหลักอย่างเป็นทางการที่จัดทำในนามคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วารสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้สำหรับนักการศึกษา นักวิจัย นักพัฒนา และนักปฏิบัติ ทางด้านการวิจัยและพัฒนาทางด้านศึกษาและสหวิทยาการที่เกี่ยวข้อง โดยวารสารดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการทางด้านการศึกษาและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับและพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาผ่านกระบวนการพิจารณาคัดเลือกและประเมินคุณภาพตามมาตรฐานสากลของวารสารวิชาการ</p> <p>ISSN: 0857-1511, E-ISSN: 2673-0847</p> คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น th-TH วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 0857-1511 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ด้วยจักรวาลนฤมิต เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/266145 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างจักรวาลนฤมิต เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ และ 2) พัฒนาการจัดการเรียนรู้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ด้วยจักรวาลนฤมิต เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 390,254 คน (สำนักนโนบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2566) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) จักรวาลนฤมิต เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบประเมินคุณภาพของสื่อจักรวาลนฤมิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของจักรวาลนฤมิตเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.02 และ 2) ผลประเมินคุณภาพพัฒนาการจัดการเรียนรู้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ด้วยจักรวาลนฤมิต เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29</p> พิชชาพร สุนทรนนท์ นูรีดา เจะเละ ซีตีมารีแย โตะจุ ซูไรดา โซมาแร นูรีย์ มะแด Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 185 197 การออกแบบสื่อการสอนอินโฟกราฟิก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/266581 <p>การออกแบบอินโฟกราฟิกไม่เพียงแต่ช่วยในการถ่ายทอดข้อมูลซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังสามารถสร้างแรงดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีคุณค่าในการสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีระบบ ในยุคที่เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการศึกษา การออกแบบสื่อการสอนอินโฟกราฟิกจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้สอนได้มีวิธีการที่หลากหลายในการสื่อสารข้อมูลและองค์ความรู้ สุดท้าย การออกแบบสื่อการสอนอินโฟกราฟิกจึงไม่เพียงแต่เป็นการสร้างสรรค์ข้อมูลในรูปแบบภาพ แต่ยังเป็นการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในวงการศึกษา ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนสามารถเผชิญกับความท้าทายในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> อนุพันธ์ ฉลูทอง บุญรัตน์ แผลงศร Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 1 6 การออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อชุมชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/265140 <p><em>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อชุมชน และเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนนวัตกรรมเพื่อชุมชุมและทัศนคติการเรียนรู้ของผู้เรียน การดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย การออกแบบและสร้างชุดทดลองสำหรับการพัฒนาทักษะการพัฒนานวัตกรรมเพื่อชุมชน การออกแบบและปรับปรุงแผนผังห้องเรียนและที่นั่งในห้องปฏิบัติการ และการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นกลุ่มตัวอย่างตามสภาพจริงใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 32 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการให้ผู้เรียนทำแบบสอบถามหลังผ่านการเรียนการสอนภายใต้สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น การวิเคราะห์ผลการวิจัยใช้การถดถอยพหุคูณ (</em><em>Multiple Regression Analysis) </em><em>เพื่อวิเคราะห์หาตัวแปรของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อชุมชุม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน ความสามารถในการกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนของชุดทดลอง เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรมของผู้เรียน และปัจจัยเกี่ยวกับความเหมาะสมของชุดทดลอง และการจัดวางของการออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ส่งผลต่อทัศนคติการเรียนรู้ของผู้เรียนในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อชุมชน</em></p> อาคม ลักษณะสกุล อภิรัญธ์ จันทร์ทอง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 7 21 ผลของสื่อวีดิทัศน์เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ของนิสิตสาขาการส่งเสริมสุขภาพ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/250597 <p>ในปัจจุบันสื่อวีดิทัศน์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการศึกษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของของสื่อวีดิทัศน์เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาการส่งเสริมสุขภาพ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 26 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการป้องกันและควบคุมโรค โดยใช้ ADDIE Model เป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบการสอนสำหรับการผลิตสื่อวีดิทัศน์ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) สื่อวีดิทัศน์เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ 2) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ 3) แบบฝึกหัดเกี่ยวกับการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในงานส่งเสริมสุขภาพ 4) แบบประเมินความความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ สถิติทดสอบค่าที (Paired t-test) และสถิติ McNemar’s test ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางอาหารและน้ำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติภายหลังเข้าร่วมโครงการ (p&lt;0.05) ระดับคะแนนด้านการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในงานส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี และคะแนนความพึงพอใจที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์อยู่ในระดับมากที่สุด สื่อวิดิทัศน์นี้สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำได้</p> ปะการัง ศรีมี อภิสรา โสมทัศน์ สุนิสา ไกรนรา ณัฐพร พงษ์อาราม พิมพ์ยาดา พิมพะสาลี ยศพงษ์ จารุจันทร์ รัตน์ติพร โกสุวินทร์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 22 34 การสำรวจการบูรณาการเทคโนโลยีในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 และการวิเคราะห์ปัจจัย SWOT โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) สำหรับกลยุทธ์การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/253054 <p>สำรวจข้อมูลจากนักศึกษาระดับปริญญาตรี 519 คน ปี 2562 ในขอบเขตการศึกษาเรื่องการจัดการชั้นเรียนโดยแพลตฟอร์มเทคโนโลยี เทคโนโลยีในสื่อการเรียน และบริการอินเทอร์เน็ตและโปรแกรมเพื่อการศึกษา พบว่าคุณภาพการบูรณาการเทคโนโลยีไอซีทีในประเทศไทยก่อนการระบาดของโควิด-19 ไม่ได้รับความพึงพอใจมากเท่าที่ควรในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ทั้งนี้ในความรับรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษา ทักษะด้าน ICT และการใช้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อพัฒนาความรู้และการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลางและแสวงหาการพัฒนาให้ดีขึ้น งานวิจัยนี้นี้ยังทำการสัมภาษณ์อาจารย์มหาวิทยาลัย 17 ท่านที่ประสงค์ให้ข้อมูลการปฏิบัติงานทั่วไปก่อนและระหว่างช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 นำมาสรุปเป็นปัจจัยจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อบกพร่องในการบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ แล้วนำไปให้ประเมินโดยบุคลากรผู้สอนที่มีประสบการณ์ด้านการใช้เทคโนโลยี ในช่วงคะแนนตั้งแต่ 1 (ต้องการน้อยที่สุด) ถึง 9 (ต้องการมากที่สุด) แล้วประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นการวิเคราะห์ (AHP) เป็นวิธีการที่ใช้คะแนนถ่วงน้ำหนักเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ แทนที่จะจัดลำดับปัจจัยตามลำดับคะแนนเฉลี่ยทีไ่ด้เพียงอย่างเดียว สิ่งที่พบคือโควิด-19 กระตุ้นให้เกิดการบูรณาการเทคโนโลยีมากขึ้นอย่างชัดเจน และกำลังผลักดันให้ผู้คนสัมผัสประสบการณ์การบูรณาการเทคโนโลยีมากขึ้น เมื่อการแพร่ระบาดสิ้นสุดลง การเพิ่มทักษะในเทคโนโลยีใหม่จะเป็นประโยชน์ในการจูงใจผู้คนให้ใช้เทคโนโลยีบูรณาการอย่างเข้มแข็ง</p> Maichanok Krapookthong Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 35 55 การพัฒนา EFs ในเด็กปฐมวัย โดยจัดประสบการณ์ดนตรีตามหลักสูตรดนตรีคีรีบูน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/262860 <p>หลักสูตรดนตรีคีรีบูน เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนากระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะกระบวนการจัดประสบการณ์ดนตรีที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้เป็นสำคัญ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และมีทักษะทางดนตรีที่เหมาะสมกับวัย ไม่เน้นการท่องจำ ไม่เน้นการเล่นเครื่องดนตรีเพียงอย่างเดียว แต่เน้นที่กระบวนการเรียนรู้ ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ EFs ในเด็กปฐมวัยที่ได้รับจัดประสบการณ์ดนตรีตามหลักสูตรดนตรีคีรีบูน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบการทดลองขั้นต้นและใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 4-5 ปี จำนวน 25 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดประสบการณ์ดนตรี และแบบประเมิน EFs สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัย อายุ 4-5 ปี ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ดนตรีตามหลักสูตรดนตรีคีรีบูนมี EFs ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ณัฏฐ์รดา ไชยอัครพงศ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 56 68 แนวโน้มการพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์และการเพิ่มของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนเมื่อห้องเรียนจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มเกมแข่งขัน (TGT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/262413 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ โดยครูผู้สอนมีบทบาทเป็นนักวิจัยดำเนินการวิจัยโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในแนวคิดเรื่องดิน ผ่านการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคกลุ่มเกมแข่งขัน (TGT) กลุ่มวิจัยของการศึกษาครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 19 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเฉพาะแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่มีเกณฑ์เป็นนักเรียนที่ลงเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ในภาคเรียนที่ 2 และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดระยะเวลา เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคกลุ่มเกมแข่งขัน (TGT) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์แบบสถานการณ์ แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และอนุทินการเรียนรู้ของนักเรียน โดยผู้วิจัยมีการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยควบคู่กับการเก็บข้อมูลวิจัยผ่านการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ (Statistical Analysis) ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แนวโน้มการพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพิ่มขึ้นเมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนวางแผนการหาคำตอบ และมีการทำงานเป็นทีมในการร่วมมือทำภารกิจให้สำเร็จ ซึ่งคุณลักษณะที่นักเรียนได้พัฒนานำไปสู่ความรับผิดชอบของการเรียนรู้ซึ่งส่งผลต่อการกำกับตนเองในการเรียนรู้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.05 และนักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์เพิ่มสูงขึ้น</p> ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 69 81 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรรค์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/258256 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานบูรณาการการศึกษาเพื่อการประกอบการในวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบดังกล่าว 3) ศึกษาผลของรูปแบบที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน การวิจัยใช้วิธีวิจัยและพัฒนา (R&amp;D) โดยเก็บข้อมูลจากครูภาษาไทย 86 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 165 คน ผ่านแบบสอบถาม จากนั้นพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้และให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คนประเมินคุณภาพ เมื่อผ่านการประเมินแล้วจึงนำไปใช้และเก็บข้อมูลผลการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้และแผนการสอนมีคุณภาพในระดับสูง 2) ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นในระดับสูงเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ 3) รูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 86.62/89.22 ซึ่งเกินเกณฑ์ 80/80 4) รูปแบบการเรียนรู้ดังกล่าวช่วยพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ปารมี วชิรปทุมมุตต์ ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 82 103 การจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมการเล่นทรายตามแนวคิด Executive Function เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/252203 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมการเล่นทรายตามแนวคิด Executive Function สำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัยทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมการเล่นทรายตามแนวคิด Executive Function ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีเด็กปฐมวัยทั้งสิ้น 32 คน เป็นหญิง 21 คน และชาย 11 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมโดยการเล่นทรายตามแนวคิด Executive Function จำนวน 20 แผน การจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมการเล่นทราย จำนวน 20 กิจกรรม และแบบประเมินวัดทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 1 ชุด ซึ่งได้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest –Posttest Design และวิเคราะห์โดยใช้ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างโดยใช้โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมการเล่นทรายตามแนวคิด Executive Function เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบประเมินวัดทักษะการคิดเชิงเหตุผลมีค่าร้อยละพัฒนาสูงขึ้น 33.28 แสดงว่า การจัดกิจกรรมกลางแจ้งประกอบชุดกิจกรรมการเล่นทรายตามแนวคิด Executive Function เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านการจำแนกประเภท และด้านการเปรียบเทียบ สูงขึ้นซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน ที่ตั้งไว้</p> จินตนา สายสิงเทศ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 104 118 การศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติของนักศึกษาการบัญชีต่อประสิทธิผลการเรียนรู้ของการเรียนการสอนแบบออนไลน์กับในสถานศึกษาช่วงการระบาดของ COVID-19 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/250738 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการเรียนรู้ของการเรียนการสอนแบบออนไลน์กับในสถานศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างนักศึกษาบัญชี มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งจำนวน 370 คน ในช่วงเวลาระหว่าง มกราคม ถึง มีนาคม 2021 งานวิจัยนี้ใช้การประเมินคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาเป็นเครื่องมือในการวัดประสิทธิผลการเรียนรู้ของการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ ลักษณะของชั้นเรียน ความกระตือรือร้นของครูผู้สอน การจัดการการสอนของผู้สอน การมีปฏิสัมพันธ์ของผู้สอน การให้ความช่วยเหลือของผู้สอน ความยุติธรรมของผู้สอน การเรียนรู้ของนักศึกษา การเรียนรู้ด้วยตนเอง ความมุ่งมั่นใฝ่เรียนรู้ของนักศึกษา&nbsp;&nbsp; การประเมินประสิทธิผลการเรียนรู้จาก 3 มาตรวัดประกอบด้วย ประสิทธิผลการเรียนรู้แบบชั้นเรียนออนไลน์ดีกว่า &nbsp;ชั้นเรียนในสถานศึกษาดีกว่า และทั้งสองของชั้นเรียนออนไลน์ และชั้นเรียนในสถานศึกษาเท่าเทียมกัน ผลการศึกษาพบว่า&nbsp; (1) การประเมินที่มีความถี่สูงสุด คือนักศึกษาประเมินประสิทธิผลการเรียนรู้ของชั้นเรียนออนไลน์และการเรียนรู้ของชั้นเรียนในสถานศึกษาเท่าทีนมกัน ยกเว้นความยืดหยุ่นในชั้นเรียนที่นักศึกษาเห็นว่าชั้นเรียนออนไลน์ดีกว่า (2) ความถี่อันดับสองคือนักศึกษาประเมินประสิทธิผลการเรียนรู้ของชั้นเรียนในสถานศึกษาดีกว่า ยกเว้นการฝึกฝนทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียนที่นักศึกษาเห็นว่าชั้นเรียนออนไลน์ดีกว่า&nbsp; (3) ความถี่สูงสุดอันดับสามคือ นักศึกษาประเมินประสิทธิผลการเรียนรู้ชั้นเรียนออนไลน์ดีกว่า</p> อมารา ติรศรีวัฒน์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 119 134 การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหา เรื่อง การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์โดยบูรณาการศาสตร์การสอนกับประสาทวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/250768 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาเรื่อง การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ โดยบูรณาการศาสตร์การสอนกับประสาทวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3&nbsp; รูปแบบในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยโมเดล (Model Research) ของ (Richey &amp; Klein. 2007) ระยะที่ 1 การพัฒนาโมเดล (Model Development) ซึ่งประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Document analysis) การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านสื่อ ด้านการออกแบบโมเดล จำนวนด้านละ 3 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านวัดและประเมิน จำนวน 3 คน และนักเรียนโรงเรียนบ้านหินลาดวังตอ ที่เรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ ปีการศึกษา 2/2563 จำนวน 44 คน ผู้ออกแบบ จำนวน 1 คน ผู้พัฒนา จำนวน 1 คน ผู้สอน จำนวน 1 คน&nbsp; ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาฯ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3&nbsp; ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบที่สำคัญคือ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แหล่งความรู้ 3) เครื่องมือทางปัญญา 4) ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) ศูนย์ส่งเสริมการแก้ปัญหา 6) ฐานการช่วยเหลือ และ 7) ห้องให้คำแนะนำ และได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของโมเดลฯ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านสื่อบนเครือข่าย ด้านการออกแบบ และด้านการวัดและประเมิน พบว่า ในด้านเนื้อเรื่องการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ มีความถูกต้องและเหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านสื่อบนเครือข่าย มีการออกแบบที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็ว มีการออกแบบเครื่องหมายนำทาง มีการเชื่อมโยง (Link) ไปยังสารสนเทศ ต่างๆเอื้อต่อการค้นคว้า และด้านการออกแบบ มีองค์ประกอบสอดคล้องกับหลักการทฤษฎีที่นำมาออกแบบ และมีความเหมาะสมในการส่งเสริมการสร้างความรู้และส่งเสริมการแก้ปัญหา</p> เกรียงศักดิ์ ป้องสุพรรณ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 135 152 กรณีศึกษาเด็กปฐมวัยที่มีภาวะออทิสซึมในการรู้จักสีจากกิจกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางสายตา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/255716 <p>เด็กที่มีภาวะออทิสซึมสามารถเรียนรู้ได้ดีจากการมอง การเห็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม และการได้สัมผัส ดังนั้นการจัดกิจกรรมให้ได้เรียนรู้จากการมองและการปฏิบัติจะช่วยให้เกิดความเข้าใจ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการรู้จักสีโดยจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อสนับสนุนทางสายตา ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นเด็กที่มีภาวะออทิสซึม ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับสีโดยเริ่มจากตารางกิจกรรมเพื่อให้เข้าใจว่ามีกิจกรรม 3 อย่างคือ 1) การฟังนิทานโดยใช้หุ่นมือเล่านิทาน 2) การทำกิจกรรมศิลปะ 3) การบอกสีที่ใช้ในผลงานศิลปะด้วยการ์ดสี โดยทุกกิจกรรมจะใข้สื่อของจริง ของเล่นจำลอง รูปภาพ และภาพลายเส้น กิจกรรมจัดสัปดาห์ละสี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีฟ้า สีส้ม และสีเขียว ตามลำดับ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมการวิจัยจับคู่การ์ดสีกับสิ่งของรอบตัวไม่ถูกต้อง สามารถระบายสีภาพได้ถุกต้องตามสภาพจริงเพียงสองสี คือ สีแดงและสีฟ้า เมื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้สามารถจับคู่การ์ดสีกับของจริงและของเล่นจำลอง สามารถทำกิจกรรมศิลปะโดยใช้สีตรงกับสภาพจริง และบอกสีที่ใช้ระบายภาพลายเส้นด้วยการ์ดสีได้ถูกต้อง เมื่อสิ้นสุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไปแล้วสองสัปดาห์ สามารถจับคู่การ์ดสีกับสิ่งของและระบายสีภาพได้ถูกต้องตรงตามสภาพจริง แสดงให้เห็นว่า การใช้สื่อสนับสนุนทางสายตาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในทุกกิจกรรมช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยที่มีภาวะออทิสซึมเกิดการเรียนรู้และมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> เด็กปฐมวัย; ภาวะออทิสซึม; กิจกรรมศิลปะ; สื่อสนับสนุนทางสายตา; การรู้จักสี</p> ปิยะรัตน์ นุชผ่องใส วิชชุดา อุ่นแสงจันทร์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 153 166 การวิเคราะห์อภิมานเครือข่ายของวิธีการสอนที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/258606 <div> <p class="ICCEAffiliations"><span lang="TH">งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลในภาพรวมของวิธีการสอนที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษ 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบขนาดอิทธิพลของวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษ โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยระดับนานาชาติเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูล </span>Scopus<span lang="TH">และระดับชาติเก็บรวบรวมวารสารกลุ่มที่ 1 ของวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ </span>TCI <span lang="TH">ในสาขาสังคมศาสตร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 ถึง ค.ศ. 2021 โดยสืบค้นตามหลักของ </span>PICO <span lang="TH">จากนั้นนำงานวิจัยที่ผ่านหลักการมาคัดเลือกคุณภาพการวิจัยตามหลักการ </span>PRISMA protocol <span lang="TH">พร้อมทั้งตรวจสอบความลำเอียงในการตีพิมพ์ (</span>publication bias) <span lang="TH">จากนั้นนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์อภิมานเครือข่ายเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย</span></p> </div> <div> <p class="ICCEAffiliations"><span lang="TH">ผลการวิเคราะห์อภิมาน พบว่า 1) ขนาดอิทธิพลในภาพรวมของวิธีการสอนที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (0.62) 2) การทำกิจกรรมกลุ่ม และการใช้จิตวิทยาร่วมในการจัดการเรียนการสอนส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษแตกต่างกัน โดยงานวิจัยที่ไม่ได้ทำกิจกรรมกลุ่มส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษมากกว่ากลุ่มที่ทำกิจกรรมกลุ่ม และการใช้จิตวิทยาร่วมการจัดการเรียนการสอนส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้จิตวิทยาร่วมการจัดการเรียนการสอนเช่นกัน ในส่วนของผลการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย พบว่า 3) กลวิธีการอ่าน (</span>Reading Strategy) <span lang="TH">ส่งผลต่อการอ่านภาษาอังกฤษมากที่สุด และรองลงมา คือ ขนาดอิทธิพลของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (</span>Computer<span lang="TH">-</span>assisted instruction) <span lang="TH">และการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม (</span>Traditional) <span lang="TH">มีขนาดอิทธิพลค่าน้อยที่สุด</span></p> </div> สกุลกาญจน์ วลีอิทธิภัสร์ ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล ณัฐพล อนันต์ธนสาร Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 47 3 167 184