https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ECEM/issue/feed วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย 2024-07-25T20:14:09+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ ecem.sdu@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย (Journal of Early Childhood Education Management) เป็นวารสารที่เผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา การส่งเสริม และการดำเนินงานทางการศึกษาปฐมวัยและทางการศึกษาของประเทศไทยและนานาชาติ</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ECEM/article/view/272384 ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์สำหรับครูอนุบาล เพื่อการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กอนุบาล 2024-07-25T20:08:43+07:00 ทิศนา แขมมณี tisana.t.k@gmail.com <p>เด็กในระดับปฐมวัยมีความอยากรู้อยากเห็น ชอบซักถาม สืบเสาะหาข้อมูลความรู้ และเรียนรู้โลกของธรรมชาติรอบตัว นับเป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว การส่งเสริมให้เด็กอนุบาลมีความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์สามารถช่วยสร้างพื้นฐานที่ดีให้เด็กเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้เรียนรู้ <br>ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมและเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ได้ โดยการพัฒนาครูอนุบาลให้เข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้กรอบคิดสมรรถนะ/องค์ประกอบ 8 ประการของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ที่เลเดอร์แมนได้ระบุและให้คำอธิบายไว้อย่างกระชับและชัดเจน ความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของครูอนุบาลจะทำหน้าที่เป็นหลักในการกำกับทิศทางการใช้คำถามของครู ให้นำทางการคิดของเด็กสู่การเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏหรือแฝงอยู่ในโลกของธรรมชาติและในสถานการณ์และเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว</p> 2024-07-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ECEM/article/view/272385 นวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ใช้รูปแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นฐาน 2024-07-25T20:14:09+07:00 วีณัฐ สกุลหอม venus_sku@dusit.ac.th นิศารัตน์ อิสระมโนรส nisarat_iss@dusit.ac.th อัษฎา พลอยโสภณ asada_plo@dusit.ac.th <p>นวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ใช้รูปแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work-Integrated Education: CWIE) ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นฐาน เป็นบูรณาการการฝึกปฏิบัติการทางวิชาชีพ กับการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต โดยใช้โรงเรียนสาธิตละอออุทิศทั้ง 4 แห่ง เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษา นครนายก และศูนย์การศึกษา ลำปาง ระหว่างการฝึกปฏิบัติการนักศึกษาจะปฏิบัติหน้าที่เสมือนครูผู้ช่วยในการจัดการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียนรวมถึงการปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่โรงเรียนมอบหมาย และนักศึกษาจะได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ เมื่อผ่านคุณสมบัติที่กำหนด โดยมีรูปแบบในการฝึกปฏิบัติการทางวิชาชีพในแต่ระดับชั้นปี ดังนี้ 1) ชั้นปีที่ 1 สังเกตการดูแลเด็กในโรงเรียน การปฏิบัติการสอนของครูประจำชั้น การจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน และระบบการบริหารจัดการในชั้นเรียน 2) ชั้นปีที่ 2 วางแผน ออกแบบ และทดลองปฏิบัติการสอนร่วมกับครูประจำชั้นภายใต้การดูแลของอาจารย์ประจำหลักสูตร 3) ชั้นปีที่ 3 ออกแบบและปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนด้วยตนเอง และ 4) ชั้นปีที่ 4 การปฏิบัติหน้าที่ครูผู้ช่วยแบบเต็มรูปตามแนวทางของสหกิจศึกษา ผ่านกระบวนการเรียนรู้ 3 รูปแบบได้แก่ Work-Based Learning &nbsp;Work-Based Teaching และWork-Based Researching เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติงานไปพร้อมกับการปฏิบัติงานจริง (On Job Training) และมีสมรรถนะที่สามารถปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษาได้เมื่อจบการศึกษา&nbsp;</p> 2024-07-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ECEM/article/view/272375 การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ในจังหวัดสกลนคร ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Functions: EF) สำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย 2024-07-25T19:25:17+07:00 ปัณฑิตา อินทรักษา pundita.ink@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Functions : EF) สำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย 2) พัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนในระดับปฐมวัย สังกัดสนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร 2) รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ สำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย 3) แบบวัดสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li class="show">ผลการศึกษาระดับสภาพและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.53) แบ่งเป็นรายด้าน ด้านพฤติกรรมหรือวินัยเชิงบวก อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.55) <br>ด้านคุณลักษณะ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.50) ด้านทักษะ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, <br>S.D. = 0.53) และด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.55)</li> <li class="show">ผลการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ สำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย องค์ประกอบของรูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) แนวคิดทฤษฎี <br>3) หลักการของรูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ 4) วัตถุประสงค์ 5) เนื้อหาสาระการเรียนรู้ 6) กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 8) การวัดและการประเมินผล และ 9) การสะท้อนผล</li> <li class="show">ผลการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยในจังหวัดสกลนคร หลังจากได้รับการพัฒนาตามรูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ สำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 37 คน มีระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยเฉลี่ยเท่ากับ78.58 อยู่ในระดับสมรรถนะสูงมากคะแนนพัฒนาการสูงที่สุดเท่ากับ 92.86% อยู่ในระดับสมรรถนะสูงมาก และคะแนนพัฒนาการต่ำที่สุด เท่ากับ 55.56 % อยู่ในระดับสมรรถนะสูง</li> </ol> <p>4. ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัย ภายใต้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ สำหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก = 4.26, <br>S.D. = 0.96)</p> 2024-07-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ECEM/article/view/272380 สภาพและปัญหาของผู้ปกครองในการสนับสนุนการเชื่อมโยงเด็กกับธรรมชาติ 2024-07-25T19:47:23+07:00 อังศิกา ศิริโอภาสกุล aung_angsika@hotmail.com ปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์ aung_angsika@hotmail.com <p>การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของผู้ปกครองในการสนับสนุน<br>การเชื่อมโยงเด็กกับธรรมชาติ ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเปิดโอกาสให้เด็กใกล้ชิดธรรมชาติ ด้านการจัดสื่อและพื้นที่ธรรมชาติในบ้าน และด้านการสนับสนุนการเล่นในธรรมชาติ ตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนมิตรจิตวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน <br>ปีการศึกษา 2565 จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ <br>หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการสนับสนุนการเชื่อมโยงเด็กกับธรรมชาติของผู้ปกครองโดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติในระดับปานกลาง (𝑥̅= 3.18) <br>ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านการสนับสนุนการเล่นในธรรมชาติ (𝑥̅= 3.75) รองลงมาคือ ด้านการเปิดโอกาสให้เด็กใกล้ชิดธรรมชาติ (𝑥̅= 3.24) และด้านการจัดสื่อและพื้นที่ธรรมชาติในบ้าน (𝑥̅ = 2.56) ตามลำดับ</p> <p>ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ด้านการจัดสื่อและพื้นที่ธรรมชาติภายในบ้าน เนื่องจากบริเวณบ้านไม่มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ รองลงมาคือ ด้านการเปิดโอกาสให้เด็กใกล้ชิดธรรมชาติ เนื่องจากผู้ปกครองทำงานเลิกเย็นทำให้ไม่มีเวลา และด้านการสนับสนุนการเล่นในธรรมชาติพบว่า ผู้ปกครองมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของเด็ก</p> 2024-07-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ECEM/article/view/272381 การวิเคราะห์ทัศนคติเหมารวมทางเพศของตัวละครหลักในหนังสือภาพสำหรับเด็กวัย 3 - 6 ปี 2024-07-25T19:52:58+07:00 ตรีสคนธ์ ตัณฑสุริยะ treesukon.tantha@gmail.com วรวรรณ เหมชะญาติ treesukon.tantha@gmail.com <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ประเภทหนังสือภาพสำหรับวัย 3-6 ปี และ (2) เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติเหมารวมทางเพศของตัวละครหลักในหนังสือภาพสำหรับเด็กวัย 3 - 6 ปี ใน 3 ประเด็น ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพของตัวละคร ลักษณะบุคลิกภาพของตัวละคร ความสนใจหลักของเรื่อง ประชากรคือ ตัวละครหลักที่ปรากฎในหนังสือภาพสำหรับเด็ก 3 - 6 ปี ที่ได้รับคัดเลือกในโครงการหนังสือดีเด่น <br>โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2566 จำนวน 68 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประเภทหนังสือภาพสำหรับเด็กวัย 3-6 ปี มีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ หนังสือเรื่องเล่าหรือนิทาน คิดเป็นร้อยละ 48.5 หนังสือไม่เน้นคำบรรยาย คิดเป็นร้อยละ 26.5 หนังสือความคิดรวบยอด คิดเป็นร้อยละ 16.2 และหนังสือบอร์ดบุ๊ค คิดเป็นร้อยละ 8.8 ตามลำดับ (2) ทัศนคติเหมารวมทางเพศของตัวละครหลักในหนังสือภาพสำหรับเด็กวัย 3 - 6 ปี (2.1) ด้านลักษณะทางกายของตัวละครหลักมีภาพรวมของค่าร้อยละสูงสุดคือ การแสดงถึงรูปร่างภายนอกของตัวละครหลัก คิดเป็นร้อยละ 36.6 รองลงมามีค่าร้อยละเท่ากันคือ เพศและการแต่งกาย คิดเป็นร้อยละ 31.7 (2.2) ด้านลักษณะบุคลิกภาพของตัวละครหลัก ที่ปรากฏค่าร้อยละสูงสุดคือ การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก คิดเป็นร้อยละ 53.2 รองลงมาคือ การแสดงออกทางกาย คิดเป็นร้อยละ 48.8 (2.3) ด้านความสนใจหลักของเรื่อง ที่ปรากฏค่าร้อยละสูงสุดคือ เชาว์ปัญญา คิดเป็นร้อยละ 65.1 รองลงมาคือ คุณธรรมจริยธรรม คิดเป็นร้อยละ 34.9 ตามลำดับ</p> 2024-07-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ECEM/article/view/272382 การสอนเขียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริม ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา 2024-07-25T20:00:44+07:00 ศิวรักษ์ ศรีสะอาดดี siwarak39@gmail.com ยศวีร์ สายฟ้า siwarak39@gmail.com <p>การวิจัยเรื่องการสอนเขียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนเขียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนเขียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนเขียนแบบปกติ&nbsp; โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการสอนที่มีการจัดการเรียนการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก และแผนการจัดการเรียนการสอนเขียนแบบปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า <br>1) ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังจากการจัดการเรียนการสอนเขียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนเขียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกมีความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ที่สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-07-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย