TY - JOUR AU - ชนะโสภิดานนท์, สุรีย์ PY - 2018/06/29 Y2 - 2024/03/29 TI - รูปแบบการทอดกฐินสำหรับชาวพุทธไทย JF - วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม JA - DRIRDI J VL - 4 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/252126 SP - 101-114 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการทอดกฐินในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาประเพณีการทอดกฐินในสังคมไทย และ 3) เสนอรูปแบบการทอดกฐินสำหรับชาวพุทธไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนา มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า การทอดกฐินในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการทำบุญในพระพุทธศาสนา ที่มีรากฐานมาจากพระวินัยบัญญัติในเรื่องกฐิน เป็นพุทธานุญาตที่มอบให้แก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสแล้วในวัดเดียวกันไม่น้อยกว่า 5 รูปขึ้นไป ให้กรานกฐินได้หลังออกพรรษา มีกำหนดภายใน 1 เดือน เป็นทานพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้เองโดยไม่ต้องขอ ด้วยพุทธประสงค์ให้การอนุเคราะห์ในเรื่องผ้าจีวรนุ่งห่ม ได้สร้างความสามัคคีในหมู่สงฆ์ ทำให้ได้รับอานิสงส์กฐิน และเป็นการสนับสนุนพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ต่อมามีผู้ศรัทธานำผ้ากฐินไปถวายแก่พระสงฆ์หลังวันออกพรรษา ชาวพุทธไทยจึงเรียกพิธีกรรมนี้ว่า ประเพณีการทอดกฐิน มาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีการทอดกฐินในสังคมไทย มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมา และถูกจัดไว้เป็นศาสนพิธีโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีรูปแบบการทอดกฐินแตกต่างกันไปตามประเภทและลักษณะของกฐิน พระกฐินหลวงมีแนวปฏิบัติตามสำนักพระราชวังและกรมการศาสนา ส่วนกฐินราษฎร์ นับว่าเจ้าภาพและคนในชุมชนมีบทบาทต่อการกำหนดกิจกรรมกฐิน ภาพลักษณ์ของประเพณีการทอดกฐินจะมีความน่าเชื่อถือได้ ชาวพุทธต้องเรียนรู้และปฏิบัติเกี่ยวกับการทอดกฐินที่ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักการพระพุทธศาสนา และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์และคนในชุมชน ยึดหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางปฏิบัติ อาศัยความสามัคคีทุกฝ่าย ทำให้งานบุญกฐินสำเร็จเป็นบุญ รูปแบบการทอดกฐินในสังคมไทยปัจจุบัน นับว่ายังมีส่วนน้อยที่รักษารูปแบบเชิงจารีต หรือจุลกฐิน ซึ่งมีกระบวนการทำจีวร เป็นกิจเบื้องต้นแห่งการกรานกฐินตามพระวินัย จึงต้องรักษาไม่ให้คลาดเคลื่อนไปในอนาคต ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาและส่งเสริมประเพณีการทอดกฐินอันดีงามของไทยให้อยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป ชาวพุทธไทยควรมีรูปแบบการทอดกฐินพึงประสงค์ ประกอบด้วย รักษาพระวินัย ยึดรูปแบบศาสนพิธี ส่งเสริมความพอเพียง ประสานความสามัคคี และมีปัญญา</p> ER -