TY - JOUR AU - แช่มช้าง, พนิดา AU - ชาญชัยชูจิต, จรรยา PY - 2020/08/30 Y2 - 2024/03/29 TI - การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการรถบรรทุกขนส่งสินค้าส่งออก ในพื้นที่เขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วยตัวแบบจำลอง JF - Journal of Business, Innovation and Sustainability (JBIS) JA - BECJ SOC SCI HUM VL - 15 IS - 2 SE - DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/213455 SP - 27-42 AB - <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินประสิทธิภาพการจัดการรถบรรทุกขนส่งสินค้าส่งออกในพื้นที่เขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบการจัดการเพื่อลดความหนาแน่นของการจราจรในพื้นที่<br>ตัวแบบจำลองได้ถูกนำมาใช้ร่วมกับการประยุกต์ใช้โปรแกรม Arena เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบการจัดการในปัจจุบันและระบบปรับปรุงใหม่ อัตราการเข้ามารับบริการของรถทั้งหมดได้ถูกเก็บรวบรวมระหว่างเดือน พ.ค.-ส.ค. 2561 รวมทั้งได้เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างรถ 335 คัน เพื่อสำรวจระยะเวลาที่รถใช้จริงในพื้นที่ ผลการศึกษา พบว่า รถบรรทุกสินค้าส่งออกใช้เวลาเฉลี่ยในพื้นที่ 55 นาที โดยมีจำนวนรถในพื้นที่สูงสุด 138 คันในช่วงเวลา 17:01-18:00 น. ในด้านอรรถประโยชน์ของการใช้ช่องเทียบรถเพื่อการขนถ่ายสินค้า พบว่าส่วนใหญ่มีค่าต่ำกว่าร้อยละ 50 ยกเว้นช่วงเวลา 15:01-20:00 น.ที่อรรถประโยชน์เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยด้วยค่าสูงสุดเป็นร้อยละ 70 ในช่วงเวลา 18:01-19:00 น. และพบว่าเวลารอคอยเฉลี่ยเพื่อใช้ช่องเทียบรถมีค่าต่ำมาก รวมทั้งพบว่าปัญหาความหนาแน่นของการจราจรในพื้นที่ไม่ได้เกิดจากความไม่เพียงพอของช่องเทียบรถ นอกจากนี้จากการวิเคราะห์กิจกรรมในกระบวนการให้บริการ พบว่าการกำหนดรายการเอกสารที่ต้องแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนแรกของการรับบริการไม่ครอบคลุมเอกสารทั้งหมดที่ต้องใช้ในพื้นที่จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความหนาแน่นของการจราจรในพื้นที่ จากการอนุญาตให้รถที่ไม่พร้อมสำหรับการขนถ่ายสินค้าเข้ามาในพื้นที่ได้</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางการปรับปรุงระบบโดยปรับการดำเนินงานในขั้นตอนการตรวจสอบขาเข้าเป็นการกำหนดให้รถบรรทุกสินค้าต้องแสดงเอกสารทั้งหมดที่ต้องใช้ในพื้นที่ให้กับเจ้าหน้าที่ ผลจากการจำลองสถานการณ์ภายใต้แนวทางดังกล่าว พบว่า รถใช้เวลาในพื้นที่น้อยลงโดยเฉลี่ย 20 นาที ส่งผลให้ปริมาณรถคงค้างในพื้นที่ลดลงกว่าร้อยละ 30 จากเดิม</p><p>คำสำคัญ: 1) การจำลองสถานการณ์ 2) ประสิทธิภาพ 3) สถานีขนถ่ายสินค้า</p> ER -