@article{อุตรนคร_เกียรติมานะโรจน์_2021, title={รูปแบบการจัดหาและรวบรวมอ้อยส่งให้โรงงานน้ำตาลของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรวบรวมอ้อย บ้านวังยาว ตำบลบ้านหัน อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น}, volume={16}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/215606}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดหาและการรวบรวมอ้อยส่งเข้าโรงงานน้ำตาลกรณีศึกษาของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรวบรวมอ้อยบ้านวังยาว จังหวัดขอนแก่น สิทธิและผลประโยชน์ที่สมาชิกได้รับและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจของกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มมีรูปแบบการจัดหาอ้อยอยู่ 3 วิธี คือ 1) การเปิดลานรับซื้ออ้อยของหัวหน้ากลุ่ม 2) การรับซื้ออ้อยจากเครือข่ายเกษตรกรของสมาชิกบางราย และ 3) การรับซื้อบิลอ้อยจากเจ้าของอ้อยรอคิวส่งอ้อยเข้าโรงงาน เป็นต้น โดยเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มจะได้รับเงินสดค่าอ้อยเบื้องต้น ณ วันที่ขายอ้อย และรับเงินปันผลและผลประโยชน์อื่นร่วมด้วยเมื่อปิดฤดูกาลหีบอ้อย ในส่วนของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของกลุ่ม พบว่า กลุ่มได้รับภัยคุกคามจากการเข้ามาเปิดลานรับซื้อของธุรกิจรายใหม่ การแข่งขันของลานรับซื้ออ้อยรายเดิมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน การรอคิวขนถ่ายอ้อยเข้าโรงงานมีระยะเวลามากกว่า 2-3 วัน การปลูกพืชอื่นทดแทนพื้นที่ปลูกอ้อย เช่น มันสำปะหลัง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงิน เป็นต้น และแนวทางที่ส่งเสริมให้กลุ่มดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน คือ กลุ่มต้องจัดสรรผลประโยชน์ให้กับสมาชิกอย่างชัดเจนและยุติธรรม สมาชิกกลุ่มทุกคนต้องร่วมมือกันจัดหาอ้อยและรวบรวมอ้อยให้ครบตามปริมาณโควตาเพื่อให้กลุ่มสามารถดำเนินการส่งอ้อยให้โรงงานได้อย่างต่อเนื่อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนเงินทุนในระดับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำแบบคงที่และต่อเนื่องในทุก ๆ ปี</p>}, number={1}, journal={Journal of Business, Innovation and Sustainability (JBIS)}, author={อุตรนคร ปนัดดา and เกียรติมานะโรจน์ ธีระ}, year={2021}, month={เม.ย.}, pages={9–24} }