@article{เพ็ชรดี_หมั่นยิ่ง_2020, place={Phitsanulok, Thailand}, title={การศึกษาความเชื่อเรื่องการถือกำเนิดของมนุษย์ที่ปรากฏในวรรณกรรม ประกอบพิธีการทำขวัญนาค : บทปฏิสนธิ}, volume={1}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/APBJ/article/view/249165}, abstractNote={<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องการถือกำเนิดของมนุษย์ที่ปรากฏ ในวรรณกรรมประกอบพิธีการทำขวัญนาคโดยศึกษาเฉพาะบทปฏิสนธิ โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ความเชื่อก่อนการปฏิสนธิและความเชื่อหลังการปฏิสนธิ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าความเชื่อก่อนการปฏิสนธิพบ 3 ลักษณะ คือ ความเชื่อเรื่อง ลางสังหรณ์ ความเชื่อเรื่องผีพุ่งไต้ และความเชื่อเรื่องความฝัน โดยความเชื่อทั้ง 3 ความเชื่อนี้ เป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนไทยมีปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง ส่วนของความเชื่อ หลังปฏิสนธิพบว่าความเชื่อดังกล่าวได้รับอิทธิพลมาจากวรรณคดีเรื่องไตรภูมิกถาเป็นหลัก ความเชื่อที่พบในบทปฏิสนธิเป็นหลักฐานในการสืบต่อความเชื่อเรื่องการถือกำเนิดของมนุษย์ ผ่านการประกอบพิธีกรรมมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อในการเกิดเป็นมนุษย์ว่ามีที่มา อย่างไร เมื่อเข้าสู่ครรภ์แล้วมีลักษณะเช่นไร อยู่ในลักษณะใด พัฒนาการส่วนประกอบของร่างกาย ในแต่ละเดือนเป็นอย่างไร ซึ่งยังคงเป็นวรรณกรรมที่ยังใช้ในการประกอบพิธีกรรมและส่งต่อ ความเชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน</p>}, number={2}, journal={วารสารอักษราพิบูล}, author={เพ็ชรดี วรารก์ and หมั่นยิ่ง วัฒนชัย}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={27–37} }